Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1350
Title: | การพัฒนาเทคนิคการสอนแบบสัมพันธภาพรูปสามเหลี่ยมเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี |
Other Titles: | The Development of Triangulation Teaching Techniques to Enhance English Speaking Skills for Thai Undergraduate Students |
Authors: | หล้าคำจา, รังสรรค์ |
Keywords: | การเรียนรู้แบบร่วมมือ การสอนแบบเน้นภาระงาน การสร้างแรงจูงใจ เทคนิคการสอนแบบสัมพันธภาพรูปสามเหลี่ยม Collaborative learning Task-based language teaching Learning motivation Triangulation teaching techniques |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1533&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการสอนแบบสัมพันธภาพรูปสามเหลี่ยม 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของทักษะการพูดภาษาอังกฤษ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการใช้เทคนิคการสอนแบบสัมพันธภาพรูปสามเหลี่ยม กลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารทางธุรกิจ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ การวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 8 ชุด คือ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบพูดสนทนา แบบสอบถามแรงจูงใจ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบประเมินคะแนนการพูดภาษาอังกฤษ แบบสังเกตของผู้วิจัย แบบเขียนสะท้อนความคิด และนักศึกษา กรณีศึกษาสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test ผลการการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) ผลของคะแนนหลังสอบของนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลของการตอบแบบสอบถามแรงจูงใจหลังจากที่ได้รับการสอนแบบสัมพันธภาพรูปสามเหลี่ยมปรากฏว่า ค่าคะแนนอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งอย่าง ( x̅ = 4.53, S.D.= 0.07) ผลของการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ปรากฏว่า ค่าของคะแนนอยู่ในระดับสูงที่สุด ( x̅ = 4.05, S.D.= 0.24) 2) ผลของการประเมินการพูด พบว่า คะแนนการพูดเพิ่มขึ้นจากการพูดก่อนบทสนทนา โดยส่วนใหญ่ได้แสดงบทบาทสมมติและปฏิบัติร่วมงานในกลุ่มกันเป็นอย่างดี ผลการสังเกตของผู้วิจัย พบว่า ครูผู้สอนควรมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยนักศึกษาในการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเริ่มการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง และบทบาทของครูผู้สอนในการปรับใช้เทคนิค การสอนแบบสัมพันธภาพรูปสามเหลี่ยม 3) ผลของการเขียนสะท้อนความคิดนักศึกษาทุกคนมีความรู้สึกในเชิงบวก คิดเป็นร้อยละแปดสิบกล่าวว่า ชอบและสนุกกับการนำเทคนิคการสอนแบบสัมพันธภาพรูปสามเหลี่ยมมาปรับใช้เพราะช่วยให้พัฒนาและฝึกฝนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ อีกทั้งรูปแบบการสอนมีประโยชน์และยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการฝึกฝน และพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษดียิ่งขึ้นไป และผลของการศึกษานักศึกษากรณีศึกษาแบบความสามารถสูง ปานกลาง และอ่อน ผลปรากฏว่า มีความเข้าใจในบริบทของภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารทางธุรกิจดีมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษา กรณีศึกษามีความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายทุกชิ้นงาน อีกทั้งสามารถพัฒนาทักษะการพูด การใช้คำศัพท์ และสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติชิ้นงานหลังจากที่ได้ศึกษาเทคนิคการสอนแบบสัมพันธภาพรูปสามเหลี่ยม |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1350 |
Appears in Collections: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rungsan Lakhamja doc.pdf | Rungsan Lakhamja | 4.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.