Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1354
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorระวงวัลย์, วิมลพร-
dc.date.accessioned2022-05-05T03:40:03Z-
dc.date.available2022-05-05T03:40:03Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1536&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1354-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบประสิทธิผลของกลวิธีการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาท และกลวิธีการสอนอ่านแบบดั้งเดิม 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนที่มีระดับความสามารถแตกต่างกัน โดยการใช้กิจกรรมการอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาท 3) เพื่อศึกษาการใช้กลวิธีการอ่านอภิปัญญา ในกิจกรรมการอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทของผู้เรียนที่มีระดับความสามารถแตกต่างกัน 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการใช้กิจกรรมการอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทเพื่อพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 73 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 33 คน โดยใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบดั้งเดิมและกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน โดยใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, แบบทดสอบวัดความก้าวหน้าด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, แบบสังเกตุพฤติกรรมการอ่าน และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนอ่านแบบดั้งเดิม 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศสูงขึ้นหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทกับครูและเพื่อนร่วมชั้น 3) ผู้เรียนทั้งสามกลุ่ม เก่ง ปานกลาง และอ่อน ส่วนใหญ่ใช้กลวิธีการอ่านด้านความรู้ความคิดด้วยการตั้งคำถาม และใช้กลวิธีการอ่านแบบอภิปัญญาด้วยการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการเรียงรายการคำศัพท์ 4) ผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อน แสดงความคิดเห็นต่อการใช้กลวิธีการอ่านอภิปัญญา (การทำนาย การตั้งคำถาม การหาความกระจ่าง และการสรุป) ว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผลจากการอภิปรายเชิงปฏิบัติ พบว่า การสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทและการใช้กลวิธีการอ่านแบบอภิปัญญาสามารถส่งเสริมการอ่านเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนได้ ผลจากการอภิปรายในเชิงทฤษฎี พบว่า กิจกรรมการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทด้วยการสอนเชิงประจักษ์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น แก้ปัญหาการอ่านได้ด้วยตนเองหลังจากได้รับความช่วยเหลือและการเสริมต่อการเรียนรู้จากผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้น และในที่สุดสามารถอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจได้ด้วยตนเองเมื่อได้รับการช่วยเหลือน้อยลงen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectกลวิธีการอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทen_US
dc.subjectกลวิธีการอ่านอภิปัญญาen_US
dc.subjectการอ่านเพื่อความเข้าใจen_US
dc.subjectผู้เรียนชาวไทยen_US
dc.subjectการเสริมต่อการเรียนรู้en_US
dc.subjectReciprocal reading activitiesen_US
dc.subjectMetacognitive reading strategiesen_US
dc.subjectReading comprehensionen_US
dc.subjectEFL Studentsen_US
dc.subjectScaffoldingen_US
dc.titleประสิทธิผลของกิจกรรมการอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนชาวไทยในระดับอุดมศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศen_US
dc.title.alternativeThe Effectiveness of Reciprocal Reading Activities for Enhancing Thai EFL Undergraduate Students’ Reading Comprehension Abilityen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimonphon Rawengwan doc.pdfWimonphon Rawengwan2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.