Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1358
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับผู้นำสตรีในฐานะผู้ใหญ่บ้าน กรณีศึกษา อำเภองาว จังหวัดลำปาง |
Other Titles: | Factors Affecting Acceptance of Women’s Leadership as Village Headman in Ngao District, Lampang Province |
Authors: | หล้าบือ, รัตนกร |
Keywords: | การยอมรับ ผู้นำสตรี ผู้ใหญ่บ้าน Acceptance Woman’s Leadership Village Headman |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1523&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการยอมรับผู้นำสตรีในฐานะผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับ ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนาผู้นำสตรีในฐานะผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ และแนวคิดคุณลักษณะของผู้นำที่ประสบผลสำเร็จของดูบริน (Dubrin) และรังสรรค์ ประเสริฐศรี ดำเนินการตามแนวทางของวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีสตรีเป็นผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง จำนวน 13 หมู่บ้าน พื้นที่ 6 ตำบล ได้กลุ่มตัวอย่างมา จำนวน 381 คน โดยใช้สูตรคำนวณของทาโรยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % จำแนกตามค่าความคลาดเคลื่อน +5 ตามจำนวนประชากรในหมู่บ้าน และคำนวณหาสัดส่วนที่เหมาะสมของประชากร โดยใช้สูตรของ Nagtalon การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ t-test และ One-way ANOVA โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า การยอมรับผู้นำสตรีในฐานะผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ด้านจริยธรรม คุณธรรมและยุติธรรม ด้านพฤติกรรมการนำ ด้านการบริหารจัดการ ด้านมนุษยสัมพันธ์และความสัมพันธ์ของผู้ตาม และด้านคุณสมบัติส่วนตัว ตามลำดับ และในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับผู้นำสตรีในฐานะผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง จำแนกตาม เพศ และระดับการศึกษา มีผลต่อการยอมรับผู้นำสตรีในฐานะผู้ใหญ่บ้าน ทั้ง 5 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุ และการเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม มีผลต่อการยอมรับผู้นำสตรีในฐานะผู้ใหญ่บ้าน ทั้ง 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน นั่นคือ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และการเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม ไม่มีผลต่อการยอมรับผู้นำสตรีในฐานะผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านสตรีควรให้ความสำคัญในการประเมินภาวะผู้นำของตนเองตามความเป็นจริงอยู่เสมอ โดยการสังเกตจากผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ภายในหมู่บ้านว่าบรรลุวัตถุประสงค์ และสามารถพัฒนาหมู่บ้านได้มากน้อยเพียงใด และสังเกตจากพฤติกรรมของประชาชน และผู้ร่วมงานจากคณะกรรมการหรือกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาตนเองให้มีภาวะผู้นำที่สูงขึ้น และส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านให้มีความรู้ความเข้าใจในการมีภาวะผู้นำที่ดี เพื่อปกครองดูแลประชาชนและพัฒนาหมู่บ้านให้ประสบผลสำเร็จ |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1358 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rattanakorn Larbue.pdf | Rattanakorn Larbue | 2.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.