Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/139
Title: | สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | Condition of Academic Administration of Private School at Elementary Level in Muang District, Chiang Rai Province |
Authors: | สุทธวงค์, นภาพร |
Keywords: | การบริหารวิชาการ โรงเรียนเอกชน Academic administration Private school |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1470&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขในการบริหารงานวิชาการ และเพื่อเปรียบเทียบการดำเนินการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารและครูผู้สอนตามประสบการณ์การทำงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัยเรื่องสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการทั้ง 9 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเรียนการสอน และรองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขในการบริหารงานวิชาการพบว่า 1) ด้านหลักสูตร ครูผู้สอนที่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ในการสอนยังไม่เข้าใจหลักสูตร ควรให้หัวหน้ากลุ่มสาระเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล และผู้บริหารควรแนะนำให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้หลักสูตร 2) ด้านการวางแผนงานวิชาการ บางช่วงเวลาไม่สามารถดำเนินงานตามแผนงานวิชาการที่วางไว้ได้ และควรส่งเสริมงานวิชาการทุกกลุ่มสาระควรขยายช่วงเวลาในการดำเนินงาน และควรจัดอบรมหรือศึกษาดูงาน 3) ด้านการเรียนการสอน จำนวนนักเรียนในห้องมากเกินไป ควรแบ่งการทำงานเป็นกลุ่ม 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน นักเรียนไม่ตั้งใจทำข้อสอบ ครูผู้สอนควรบอก ตักเตือน และแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ 5) ด้านการวิจัยชั้นเรียน ครูผู้สอนไม่สามารถจัดทำงานวิจัยระยะยาวได้ เพราะมีภาระงานมากจึงควรจัดทำงานวิจัยระยะสั้นภายใน 1 ภาคเรียน 6) ด้านสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการสอน ครูไม่สามารถผลิตสื่อได้มากเนื่องจากภาระงานมีมาก และงบประมาณไม่เพียงพอควรจัดหาสื่อสำเร็จรูปมาแทน และผู้บริหารควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ 7) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรมประเพณีในท้องถิ่น ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูเข้าร่วม โดยการแบ่งกลุ่มครูเพื่อเข้าร่วมประเพณีดังกล่าว 8) ด้านการนิเทศการศึกษา ผู้บริหารขาดการนิเทศแบบต่อเนื่องควรให้ผู้บริหารจัดสรรเวลาในการเข้านิเทศ 9) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานตัวชี้วัดเปลี่ยนไปทำให้ครูขาดความเข้าใจ ควรจัดอบรมให้ครูจากการเปรียบเทียบการดำเนินการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามประสบการณ์ทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์ทำงาน พบว่าผู้ที่มีประสบการณ์ทำงาน 16 ปีขึ้นไปมีการดำเนินงานสูงกว่าผู้มีประสบการณ์ทำงาน 1-15 ปี และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านที่ 4 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนมีการดำเนินการอยู่ระดับมากที่สุด |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/139 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59206989.pdf | Napaporn Sutthawong | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.