Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1668
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเลือลา, ศุภกร-
dc.date.accessioned2022-08-17T07:07:32Z-
dc.date.available2022-08-17T07:07:32Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=314&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1668-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคาดหวังของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคาดหวังของครูผู้สอน จำแนกตามวุฒิการศึกษา และเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาคุณสมบัติของผู้บริหารสถานศึกษา เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคาดหวังครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคาดหวังของครูผู้สอน จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยในภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผลจากการศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามข้อเสนอแนะของครู ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ คือ ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์และสามารถถ่ายทอดไปยังผู้ร่วมงานได้ มีศีลธรรมและมีจริยธรรมสูง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ คือ ผู้บริหารควรแสดงความเชื่อมั่น และแสดงให้เห็นความตั้งใจอย่างแน่วแน่จะสามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ และเป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีและการคิดในแง่บวก ด้านการกระตุ้นทางปัญญา คือ ผู้บริหารต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ควรมีการให้กำลังใจผู้ร่วมงาน และผู้บริหารต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล คือ ผู้บริหารควรส่งเสริม สนับสนุนผู้ร่วมงานโดยการให้โอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม เน้นการทำงานเป็นทีม รับฟังและยอมรับความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน บริหารงานอย่างโปร่งใส มีความยุติธรรม วางตัวเป็นกลาง พร้อมทั้งปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานอย่างเท่าเทียมกันen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงen_US
dc.subjectความคาดหวังen_US
dc.subjectผู้บริหารสถานศึกษาen_US
dc.subjectครูผู้สอนen_US
dc.subjectTransformational leadershipen_US
dc.subjectExpectationen_US
dc.subjectSchool administratorsen_US
dc.subjectTeacheren_US
dc.titleภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคาดหวังของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3en_US
dc.title.alternativeTransformational Leadership of Headmasters in Expectation of Teachers Belonging to Lampang Primary Educational Service Area Office 3en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supakorn luala.pdfSupakorn luala2.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.