Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1698
Title: รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวจักรยานเมืองชายแดนในเขตล้านนาตะวันออก
Other Titles: Bicycle Tourism Management Model for Border Cities in Eastern Lanna
Authors: ศิริวิไลเลิศอนันต์, ลิลลาลี
Keywords: การท่องเที่ยวจักรยานเมืองชายแดน
เส้นทางจักรยานล้านนาตะวันออก
บริหารจัดการการท่องเที่ยวจักรยาน
Bicycle tourism in border cities
Eastern Lanna bicycle path
Bicycle tourism management
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1567&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของการท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจักรยาน 3) เพื่อวิเคราะห์และเสนอเส้นทางที่เหมาะสม และ 4) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวจักรยานเมืองชายแดน ในเขตล้านนาตะวันออก ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของการท่องเที่ยวในภาพรวม น่านมีศักยภาพมากที่สุด รองลงมา คือ พะเยา และเชียงราย ด้านสิ่งดึงดูดใจ น่านมีศักยภาพสูงสุด ด้านการเข้าถึง เชียงรายและพะเยามีศักยภาพสูงสุดเท่ากัน ด้านที่พัก น่านมีศักยภาพสูงสุด ด้านบริการและความสะดวกสบาย น่านมีศักยภาพสูงสุด ด้านกิจกรรม น่านมีศักยภาพสูงสุด ด้านความปลอดภัย น่านมีศักยภาพสูงสุด และด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวจักรยาน น่านมีศักยภาพสูงสุด พฤติกรรมนักท่องเที่ยวจักรยาน พบว่า ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์มาเข้าร่วมงานอีเว้นท์ที่จัดขึ้น มีการใช้บริการต่าง ๆ สิ่งดึงดูดใจ คือ การเข้าร่วมงานอีเว้นท์ ปั่นเพื่อท่องเที่ยวหาประสบการณ์ รางวัล ได้เพื่อนร่วมเดินทางใหม่ที่มีความชอบเดียวกัน การวิเคราะห์และเสนอเส้นทางที่เหมาะสม พบว่า ควรจะมีสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ เส้นทางมีสิ่งน่าสนใจ สวยงาม มีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐาน บริการข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ในแหล่งท่องเที่ยว การพักผ่อน การเดินทาง และความปลอดภัย รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวจักรยาน ควรคำนึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสภาพธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น รวมทั้งแนวทางในการบริหารจัดการ ตามหลัก Supply chain management ควรมุ่งให้เกิดความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน การมีเส้นทางจักรยานที่ปลอดภัย และได้มาตรฐานพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว และช่วยให้ชุมชนมีรายได้ และประชาชนมีอาชีพ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1698
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Linlalee Siriwilailerdanun doc.pdfLinlalee Siriwilailerdanun8.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.