Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1702
Title: | การบริหารความขัดแย้งระหว่างชุมชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา อำเภองาว จังหวัดลำปาง |
Other Titles: | The Conflict Management in The Community of Pong Tao Subdistrict Administrative Organization Ngao District, Lampang Province |
Authors: | เทพา, สุกัญญา |
Keywords: | การบริหารความขัดแย้ง Conflict management |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=275&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการบริหารความขัดแย้งระหว่างชุมชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งระหว่างชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งการจัดสรรทรัพยากรสู่ชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชากรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา อำเภองาว จังหวัดลำปาง จำนวน 13 หมู่บ้าน จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล การบรรยายข้อมูลทั่วไปของประชากร เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้ง ระหว่างชุมชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา ตามทฤษฎีวิธีการจัดการความขัดแย้งของโฮวาทและลอนดอน (Howat & London) ซึ่งจำแนกวิธีการจัดการกับความขัดแย้งเป็น 5 วิธี คือ 1) วิธีเผชิญหน้า 2 ) วิธีหลีกเลี่ยง 3) วิธีบังคับ 4) วิธีไกล่เกลี่ย 5) วิธีประนีประนอม จากการศึกษาการบริหารความขัดแย้งระหว่างชุมชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา อำเภองาว จังหวัดลำปาง ในครั้งนี้ พบว่า สาเหตุความขัดแย้งเกิดจากผลประโยชน์และการแย่งชิงทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด การเอารัดเอาเปรียบ การบุกรุกป่าและที่ทำกิน การลักลอบเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ของชุมชน สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ค่านิยม ภูมิหลัง และกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ย่อมมีความคิดเห็นที่ต่างกัน โดยประชากรส่วนใหญ่เลือกใช้วิธีการบริหารความขัดแย้งมากที่สุด คือ วิธีประนีประนอม ได้แก่ แสวงหาทางแก้ไขร่วมกัน ถนอมน้ำใจของทั้งสองฝ่ายเพื่อรักษาสัมพันธภาพเอาไว้ เสนอแนวทางที่ทำให้เกิดความพึงพอใจร่วมกัน ยอมรับให้บุคคลที่ 3 เข้าร่วมตัดสินใจและยอมเป็นทั้งฝ่ายได้และเสียประโยชน์ รองลงมา คือ วิธีไกล่เกลี่ย ได้แก่ เปิดใจรับความคิดเห็น พูดคุยกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย แสดงท่าทีเป็นมิตร มุ่งมองที่ตัวปัญหามากกว่าตัวบุคคล เสนอข้อลดหย่อนหรือทางเลือกของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ รองลงมา คือ วิธีเผชิญหน้า ได้แก่ กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจน เผชิญหน้ากับความขัดแย้งตรงไปตรงมา หยิบยกข้อขัดแย้งมาพิจารณาอย่างโปร่งใส มีการแก้ไขความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง ถกประเด็นเพื่อระบุถึงความขัดแย้ง ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ ควรต้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจให้ความรู้กับประชาชนให้มากขึ้นในด้านการเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของชุมชน เช่น การสำรวจพื้นที่การเกษตร การสำรวจพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อนำมาประกอบการจัดทำแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ แก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยการศึกษาผลกระทบในด้านต่าง ๆ และที่สำคัญต้องยึดหลักการเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เรียงลำดับความสำคัญของแผนในระดับหมู่บ้าน ระดับตำบลให้ได้อย่างจริงจัง ชุมชนควรเรียนรู้ปัญหาซึ่งกันและกัน ในการที่ความจำเป็นพื้นฐานในการใช้ประโยชน์ร่วมกัน และเพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อรายงานการดำเนินงานระหว่างองค์กรกับภาคประชาชนให้มากขึ้น และความถี่ในการสื่อสารมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน และเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการทำงานตามหลักธรรมาภิบาล |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1702 |
Appears in Collections: | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukanya Thepha.pdf | Sukanya Thepha | 4.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.