Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1724
Title: การปรับปรุงคุณภาพและการทดสอบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่มีส่วนผสมของแร่ลีโอนาร์ไดต์ต่อการเจริญเติบโตและผลิตของข้าวโพดหวาน
Other Titles: Quality Improvement of Organic Fertilizer Pellets with Leonardite and the Effect of Fertilizer on the Growth and Yield of Sweet Corn (Zea Mays L. Var. Saccharata)
Authors: นามจิตร, วิจิตรา
Keywords: การปรับปรุงคุณภาพ
ปุ๋ยอัดเม็ด
แร่ลีโอนาร์ไดต์
ข้าวโพดหวาน
Quality improvment
Pettel fertilizer
Leonardite
Sweet corn
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1581&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของแร่ลีโอนาร์ไดต์ให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้ได้ปุ๋ยอัดเม็ดที่มีคุณภาพดีทำการทดลอง 5 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาสมบัติของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด โดยนำมูลวัว ปุ๋ยหมักจากซังข้าวโพดแบบไม่กลับกอง แร่ลีโอนาร์ไดต์ แร่ภูเขาไฟชนิดภูไมท์ แร่ดินเหนียวชนิดไดอะตอมไมท์ มูลไก่ และหินฟอสเฟต มาทำการศึกษา พบว่า แร่ลีโอนาร์ไดต์มีค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 3.34 ขณะที่วัตถุดิบชนิดอื่น ๆ มีค่าอยู่ระหว่าง 7.64-8.83 มูลวัวมีค่าปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณอินทรีย์คาร์บอน สูงที่สุดเท่ากับ 55.64 และ 32.27 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มูลไก่มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดฟอสฟอรัสทั้งหมด และโพแทสเซียมทั้งหมด สูงที่สุดเท่ากับ 1.67, 5.88 และ 3.48 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แร่ลีโอนาร์ไดต์มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูงที่สุดเท่ากับ 58.35 การทดลองที่ 2 ทำการผลิตปุ๋ยอัดเม็ดด้วยการนำวัตถุดิบ จากการทดลองข้างต้น มาผสมกันด้วยอัตราส่วนต่าง ๆ แล้วทำการวิเคราะห์คุณภาพ พบว่า กรรมวิธีที่ 11 ที่ใช้แร่ลีโอนาร์ไดต์: ภูไมท์: ปุ๋ยหมักซังข้าวโพดแบบไม่กลับกอง: มูลไก่ไข่ ผสมกันในอัตราส่วน 1:1:2:6 มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสทั้งหมด และโพแทสเซียมทั้งหมด เท่ากับ 1.11, 3.09 และ 2.31 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งอัตรานี้เหมาะสมต่อการผลิตของโรงงานปุ๋ย การทดลองที่ 3 ศึกษาการผลิตและคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่ผลิตด้วยกรรมวิธีของโรงงาน โดยใช้อัตราส่วนที่ดีที่สุด จากการทดลองที่ 2 มาผลิต พบว่า ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้มีค่าการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร และสมบัติทางกายภาพและเคมีสม่ำเสมอ และมีค่าคุณสมบัติอื่น ๆ ผ่านตามข้อกำหนดคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดที่ไม่เป็นของเหลวตามมาตรฐาน ตามประกาศของกรมวิชาการเกษตร การทดลองที่ 4 ศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดของโรงงานต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพดหวาน ในการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ พบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลผลิตต่อไร่สูงที่สุด เท่ากับ 3,407.16 กิโลกรัมต่อไร่ และการทดลองที่ 5 ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด พบว่า การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตัน จะมีราคาขายอยู่ที่ 8,500 บาท ได้ผลตอบแทน 6,486.87 บาท ได้กำไรสุทธิ 2,013.13 บาท และอัตรากำไรต่อต้นทุน 31.03 เปอร์เซ็นต์
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1724
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wijittra Namjitr.pdfWijittra Namjitra976.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.