Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1852
Title: การศึกษาคำบุรุษสรรพนามในภาษาไทยพวนภาคอีสาน: การเปลี่ยนแปลงภาษาและการใช้ภาษา
Other Titles: A Study of Personal Pronouns in Isan Thai– Phuan: Language Change and Usage
Authors: พงศ์พิริยะวนิช, กัญณฐา
Keywords: คำบุรุษสรรพนาม
ภาษาไทยพวน
การเปลี่ยนแปลงภาษา
Personal pronoun
Thai Phuan Language
Language change
Language usage
Social context
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=906&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้คำบุรุษสรรพนามตามบริบททางสังคมของชาวไทยพวนภาคอีสาน และศึกษาการเปลี่ยนแปลงคำบุรุษสรรพนามในภาษาไทยพวนภาคอีสานจากเอกสารโบราณและภาษาพูดในปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนภาคอีสาน 3 ช่วงอายุ ได้แก่ ช่วงอายุ 15-25 ปี, ช่วงอายุ 35-45 ปี และ ช่วงอายุ 55-65 ปี พื้นที่วิจัย คือ หมู่บ้านบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย หมู่บ้านถ่อน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และหมู่บ้านโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย จำนวน 302 คน และเอกสารโบราณ ประเภทนิทานพื้นบ้าน 3 เรื่อง ได้แก่ กำพร้าปลาแดก นางผมหอม และฉลองไตรปิฎก เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบบันทึก และการบันทึกเทป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานใช้การหาค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้คำบุรุษสรรพนาม พบว่า ชาวไทยพวนใช้คำบุรุษสรรพนามจากภาษาพูด ทั้งสิ้น 134 คำ ได้แก่ คำบุรุษสรรพนามที่ 1 จำนวน 41 คำ คำบุรุษสรรพนามที่ 2 จำนวน 44 คำ และ คำบุรุษสรรพนามที่ 3 จำนวน 49 คำ ตามบริบททางสังคมในงานวิจัยนี้ ได้แก่ กาลเทศะ แบ่งเป็น สถานการณ์ที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เพศ แบ่งเป็น เพศเดียวกัน และต่างเพศกัน อายุ แบ่งเป็น อายุเท่ากัน มากกว่า และน้อยกว่าผู้พูด ความเป็นเครือญาติกัน แบ่งเป็น เป็นเครือญาติกัน และไม่เป็นเครือญาติกัน ความสนิทสนมกัน แบ่งเป็น สนิทสนมกัน และไม่สนิทสนมกัน แสดงความสุภาพ แบ่งเป็น แสดงความสุภาพ และแสดงความไม่สุภาพ และการแสดงอารมณ์ แบ่งเป็น แสดงอารมณ์พอใจและไม่พอใจ 2) การเปลี่ยนแปลงคำบุรุษสรรพนามในภาษาพูดปัจจุบันและในเอกสารโบราณ พบการเปลี่ยนแปลง 4 ประเด็น ได้แก่ กลุ่มคำบุรุษสรรพนามที่คงเดิม กลุ่มคำบุรุษสรรพนามที่สันนิษฐานได้ กลุ่มคำบุรุษสรรพนามที่สูญเสียคำ และกลุ่มคำบุรุษสรรพนามที่เพิ่มมาในยุคหลัง 3) รูปแบบการใช้คำบุรุษสรรพนาม ได้แก่ กาลเทศะ เพศ อายุ ความเป็นเครือญาติกัน ความสนิทสนมกัน ความสุภาพ และการแสดงอารมณ์ มีคุณสมบัติ (+) เนื่องจากมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1852
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kannatha Phongpiriyawanich.pdfKannatha Phongpiriyawanich5.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.