Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1853
Title: คำสาปแช่งในวรรณคดีไทย
Other Titles: Curse Words in Thai Literature
Authors: อุทยานุกูล, ปฎิพันธ์
Keywords: คำสาปแช่ง
วรรณคดีไทย
การประกอบสร้าง
Curse words
Thai literature
Discourse structure
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=905&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การประกอบสร้างคำสาปแช่งในวรรณคดีไทย และค้นหามิติแห่งสารัตถะที่ปรากฏในคำสาปแช่งในวรรณคดีไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือคำสาปแช่งที่ปรากฏในวรรณคดีไทย 8 เรื่อง ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จำนวน 43 บท โดยใช้กรอบแนวคิดการประกอบสร้าง และกรอบแนวคิดมิติแห่งสารัตถะของคำสาป ผลการวิจัยพบว่า การประกอบสร้างคำสาปแช่งในวรรณคดีไทยนั้นมีการใช้องค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การเริ่มเรื่อง นิยมเริ่มเรื่องด้วยบทสนทนามากที่สุด รองลงมา คือ การบรรยายความเป็นไปภายในเรื่อง และการเริ่มเรื่องด้วยการแสดงนาฏการของตัวละครเป็นลำดับสุดท้าย ส่วนการดำเนินเรื่องนั้น ผู้แต่งนิยมใช้วิธีการดำเนินเรื่องในบทสาปแช่งตามลำดับเวลามากที่สุด และการจบหรือสรุปเรื่องนั้น พบว่า นิยมจบเรื่องแบบธรรมดา คือ เป็นไปตามความคาดหมายของผู้อ่าน เพราะผู้แต่งในสมัยก่อนนิยมปฏิบัติกันเช่นนั้น ส่วนกลวิธีในการประกอบสร้างคำสาปแช่งนั้น พบว่า มีการใช้คำ 3 ชนิด คือ คำกริยา คำช่วยกริยา และคำวิเศษ เช่น “ให้” “จง” “เป็น” การใช้ถ้อยคำ “ให้” “จง” “เป็น” หรือคำอื่น ๆ มาประกอบสร้างเป็นคำสาปแช่งนั้นเป็นการสื่อให้เห็นว่า ถ้อยคำที่ใช้ประกอบสร้างคำสาปแช่งเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นคำที่ให้ความรู้สึกหนักแน่น รุนแรง เมื่อนำมาใช้ในการประกอบสร้างเป็นคำสาปแช่งแล้ว ย่อมทำให้เกิดพลังอันน่าสะพรึงกลัว พร้อมกับสร้างความตระหนกตกใจให้เกิดแก่ผู้ที่ถูกสาปแช่งได้ และเมื่อผู้ถูกสาปแช่งได้รับฟังแล้ว ก็ย่อมส่งผลไปถึงสภาวะทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีเกิดขึ้นในจิตใจ โดยคำที่ใช้ประกอบคำสาปแช่งนั้นมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ เป็นคำที่ช่วยแสดงความหมายของกริยาหรือประโยคนั้นให้จัดเจนขึ้น และทำหน้าที่สื่อความหมายว่าตัวละครมีการกระทำ มีอาการหรืออยู่ในสภาพเช่นไร ส่วนการวิเคราะห์ลักษณะทางภาษาของคำสาปแช่งนั้น พบว่า มีลักษณะเป็นภาษาเรื่องเล่า มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ มีการเริ่มต้นและการลงท้าย มีการแสดงหัวเรื่องและการแสดงการเปลี่ยนหัวเรื่องหรือหัวเรื่องย่อย มีการเชื่อมโยงความ และมีการซ้ำ มิติแห่งสารัตถะของคำสาปแช่งในวรรณคดีไทยนั้น พบว่า มี 2 ประเด็น คือ วิถีของการสาปแช่ง ได้แก่ มูลเหตุในการสาปแช่ง รายละเอียดของคำสาปแช่ง ผลของคำสาปแช่ง เงื่อนไขในการพ้นคำสาปแช่ง วิธีการพ้นจากคำสาปแช่ง และปัจจัยของคำสาปแช่งที่ส่งผลต่อองค์ประกอบของเรื่อง นอกจากนั้น พบธรรมชาติของสรรพสิ่งปรากฏร่วมอยู่ในคำสาปแช่ง 2 ประเด็น คือ ระบบความคิดและจิตวิญญาณ ประกอบด้วยมโนทัศน์ที่เกี่ยวโยงกับการเมืองการปกครองและอำนาจ ระบบความเชื่อของศาสนาหรือลัทธิและพิธีกรรม อารมณ์และความรู้สึก และสภาวะเหนือโลก เหนือธรรมชาติ หรือมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ยากต่อการอธิบาย พบเห็นหรือสัมผัสได้ จัดเป็นสภาวะอันเกินวิสัยที่มนุษย์จะพิสูจน์ให้ได้ชัดเจนว่ามีอยู่จริงหรือไม่ เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภพภูมิ ทวยเทพ อมนุษย์ และฤๅษี
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1853
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patiphan Utthayanukul.pdfPatiphan Utthayanukul5.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.