Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1854
Title: | ปัญหาความขัดแย้งของตัวละครในปัญญาสชาดกกับนวนิยายไทย |
Other Titles: | Conflicts of Characters in Pannasajataka Panyasajataka and Thai Novels |
Authors: | คำกุนะ, สุริยา |
Keywords: | ความขัดแย้ง ตัวละคร ปัญญาสชาดก นวนิยายไทย Conflict Character PannasaJataka Thai Novels |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=903&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์มูลเหตุปัญหาความขัดแย้งของตัวละคร กลวิธีการนำเสนอปัญหาความขัดแย้งของตัวละคร และเปรียบเทียบมูลเหตุปัญหาความขัดแย้ง และกลวิธีการนำเสนอในปัญญาสชาดกกับนวนิยายไทย โดยศึกษาจากปัญญาสชาดก จำนวน 50 เรื่อง และปัจฉิมภาค 11 เรื่อง รวม 61 เรื่อง และนวนิยายไทย 24 เรื่อง โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีความขัดแย้งของราล์ฟ ดาห์เรนดอร์ฟ (1959) และกุหลาบ มัลลิกะมาส (2522) จากการศึกษาสรุปได้ว่า 1) มูลเหตุปัญหาความขัดแย้งของตัวละครคล้ายคลึงกันทั้งในปัญญาสชาดกและนวนิยายไทย จากการศึกษาพบ 5 แบบ คือ ความขัดแย้งที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ความแห้งแล้ง อุทกภัย และความเจ็บไข้ ความขัดแย้งที่เกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ผลของกรรมชั่ว อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพระภูมิเจ้าที่ ความขัดแย้งที่เกิดจากตนเอง เช่น การทำความดี ความกลัว และศีลธรรม ความขัดแย้งที่เกิดจากผู้อื่น เช่น นายจ้างกับลูกจ้าง สามีกับภรรยา และเพื่อนกับเพื่อน และความขัดแย้งที่เกิดจากสภาพสังคม เช่น สงคราม ความยากจน และการประพฤติผิดประเวณี 2) กลวิธีการนำเสนอปัญหาความขัดแย้ง พบคล้ายกันทั้งในปัญญาสชาดกและนวนิยายไทย มี 4 ประเด็น คือ กลวิธีการนำเสนอผ่านโครงเรื่อง เช่น ความอิจฉาริษยา การแย่งชิงสมบัติ และความยากจน กลวิธีการนำเสนอผ่านตัวละคร คือ เพราะแนวคิด พฤติกรรม และเพราะบทบาทของตัวละคร กลวิธีการนำเสนอผ่านบทสนทนา เช่น บอกฐานะบอกนิสัยของตัวละคร และช่วยดำเนินเรื่อง และกลวิธีการนำเสนอผ่านน้ำเสียงของผู้แต่ง เช่น แสดงความเชื่อเรื่องผลของกรรมชั่ว อำนาจกามคุณ และความผูกพันระหว่างมารดาบิดาและบุตร 3) การเปรียบเทียบมูลเหตุปัญหาความขัดแย้ง และกลวิธีการนำเสนอในปัญญาสชาดกกับนวนิยายไทย แยกการศึกษาออกเป็น 2 ประการ คือ ประการแรก มูลเหตุปัญหาความขัดแย้งพบ 3 ลักษณะ คือ การผลิตซ้ำ พบทั้งในปัญญาสชาดกและนวนิยาย ได้แก่ ความขัดแย้งที่เกิดจากธรรมชาติ สิ่งเหนือธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่น และสภาพสังคม การรื้อทิ้ง พบเฉพาะในปัญญาสชาดก เช่น ความขัดแย้งที่เกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติ ตนเอง และผู้อื่น และการสร้างใหม่ พบเฉพาะในนวนิยายไทย เช่น ความขัดแย้งที่เกิดจากธรรมชาติ สิ่งเหนือธรรมชาติ ตนเองและผู้อื่น ส่วนประการที่สอง กลวิธีการนำเสนอปัญหาความขัดแย้งพบ 3 ด้าน คือ การผลิตซ้ำ พบทั้งในปัญญาสชาดกและนวนิยายไทย ได้แก่การนำเสนอผ่านโครงเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา และน้ำเสียงของผู้แต่ง การรื้อทิ้ง พบเฉพาะในปัญญาสชาดก ได้แก่ การนำเสนอผ่านโครงเรื่อง และการสร้างใหม่ พบเฉพาะในนวนิยายไทย ได้แก่ การนำเสนอผ่านโครงเรื่องและน้ำเสียงของผู้แต่ง |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1854 |
Appears in Collections: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suriya Khamkuna.pdf | Suriya Khamkuna | 4.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.