Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1874
Title: การจัดการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง : กรณีศึกษาเรือนจำจังหวัดพะเยา
Other Titles: The Rehabilitation Management of the Offenders : A Case Study of Phayao Provincial Prison
Authors: เผ่าต๊ะใจ, ปริญญา
Keywords: การแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง
The rehabilitation management of the offenders
ผู้ต้องขัง
การจัดการ
Offenders
Management
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=734&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดพะเยา และปัญหาอุปสรรคในการจัดการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดพะเยา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข การจัดการฟื้นฟูผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดพะเยาให้มีประสิทธิภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑเ์รือนจำจังหวัดพะเยาที่ปฏิบัติงานด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง จำนวน 1 ราย และผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดพะเยาที่เข้ารับการแก้ไขฟื้นฟูตามโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูที่เรือนจำจังหวัดพะเยา ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 30 คน รวมประชากรผู้ต้องขังที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จำนวน 90 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งผ่านผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน นำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีอาชีพรับจ้าง ความคิดเห็นของผู้ต้องขังเกี่ยวกับปัจจัยด้านการแก้ไขฟื้นฟู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การพัฒนาด้านร่างกาย การพัฒนาด้านความรู้ความสามารถ การพัฒนาด้านความคิดและพัฒนาจิตใจ ตามลำดับ โดยสรุปผู้ต้องขัง มีความคิดเห็นในการจัดการแก้ไขฟื้นฟู โดยเล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาด้านร่างกาย เน้นการเข้าร่วมกิจกรรมฝึกระเบียบแถวซึ่งทำให้มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบมากขึ้น สำหรับการพัฒนาด้านความรู้ความสามารถ เน้นการเข้าร่วมโปรแกรมแล้วทำให้สามารถพัฒนาตนเอง และอยู่ร่วมกับสังคมภายนอกได้ และการพัฒนาด้านความคิดและพัฒนาจิตใจเน้นการสามารถปรับตัวให้เป็นที่ยอมรับและเข้ากับสังคมภายนอกได้ภายหลังพ้นโทษ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1874
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prinyar Phaotajai.pdfPrinyar Phaotajai4.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.