Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1895
Title: | การจัดการขยะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม: กรณีศึกษากองพันทหารปืนใหญ่ที่ 17 ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Waste Management for Value Added: A Case Study of 17Th Royal Thai Artillery Battalion Khai Khunchueangthammikkarat Tambontha Wang Thong, Amphoe Mueang, Phayao Province |
Authors: | ปรางค์สุวรรณ, นิตยา |
Keywords: | การสร้างมูลค่าเพิ่ม การจัดการขยะ Waste management Value creation |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1106&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการขยะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ของกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 17 ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา วิธีการศึกษาดำเนินตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ จากนั้นจึงนำข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เทียบเคียงกับแนวคิดทฤษฎี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 17 ผู้บังคับกองร้อย จ่ากองพัน และจ่ากองร้อย รวมทั้งสิ้น 10 คน ผลการศึกษาพบว่า การจัดการขยะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ของกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 17 มีแนวทางการจัดการขยะ โดยใช้การคัดแยกและการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย (3Rs) คือ การลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำสิ่งของที่ใช้งานไปแล้วแต่ยังสามารถใช้งานได้มาใช้อีกอย่างคุ้มค่า และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยการแยกขยะออกมาเป็นขยะรีไซเคิล ซึ่งเมื่อดำเนินการตามหลัก 3Rs แล้ว ก็จะเหลือปริมาณขยะที่จะทิ้งน้อยลง กองพันมีวิธีดำเนินการจัดการขยะ โดยคัดแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท คือ ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิล ซึ่งขยะรีไซเคิลทางกองพันจะจัดรถไปรับตามกองพัน กองร้อย และบ้านพัก ทุกสัปดาห์เพื่อนำไปเก็บไว้ในโรงเก็บขยะของกองพัน จากนั้นจะทำการคัดแยกขยะ รีไซเคิลมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ส่วนขยะรีไซเคิลที่เหลือก็จะนำไปขาย การนำขยะรีไซเคิลมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะรีไซเคิล เช่น กระป๋องพลาสติก กระป๋องแป้ง กระป๋องน้ำมันเครื่อง เศษผ้า มาทำความสะอาด จากนั้นจึงนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ มีปัจจัยในการสร้างมูลค่าเพิ่ม 2 ปัจจัย คือ 1) การนำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ การคัดแยกขยะรีไซเคิล เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้ถูพื้นและพรมจากเศษผ้า ส่วนขยะรีไซเคิลที่เหลือก็นำไปขาย 2) ด้านการบริหารการออกแบบ การทำขยะให้เป็นชิ้นงาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ประกอบด้วย การออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การออกแบบให้มีเอกลักษณ์ หรือมีความโดดเด่นกว่าของคนอื่น มีความทนทาน แข็งแรง ไม่หลุดง่าย ใช้ได้นาน ราคาขายเท่ากับในตลาดแต่มีคุณภาพ กระบวนการทำขยะรีไซเคิลให้เป็นชิ้นงาน ได้แก่ การคัดแยกขยะตามคุณสมบัติที่ต้องการ โดยดูจากรูปร่างและขนาด แล้วนำมาเข้ากระบวนการทำให้เป็นชิ้นงาน ตามความถนัดของแต่ละบุคคล และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ แข็งแรงทนทาน และมีอายุการใช้งานที่นาน การดูแลรักษาก็สามารถทำได้ง่าย ด้านส่งเสริมการขายลูกค้าใช้ดีแล้วบอกต่อ ถือเป็นการส่งเสริมการตลาดที่มีราคาถูกที่สุดและได้ผลดีที่สุด ส่วนการจำหน่ายจะมีการสั่งสินค้าจากชุมชนบ้านโป่งศรีนคร ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย และประชาชนทั่วไปที่สนใจ การออกบู๊ทงานแม่บ้านร่วมกับทางกองพลทหารราบที่ 7 และวางจำหน่ายที่ร้านค้าสวัสดิการของกองพัน |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1895 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nittaya Prangsuwan.pdf | Nittaya Prangsuwan | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.