Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1926
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินนโยบายของเทศบาลเมืองดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Factor Determining Satisfaction of People in Dokkhamtai Municipality Muang Phayao |
Authors: | ศรีชัย, ปวีณา |
Keywords: | ความพึงพอใจ นโยบาย เทศบาลเมืองดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา Saitisfaction Polity Muang Dokkhamtai Sub-district Municpality Phayao province |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1110&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วม แรงจูงใจ และความพึงพอใจของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ ในปี 2558 ผลการศึกษา เพื่อนำไปปรับปรุงเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบาย และดำเนินการพัฒนาพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนมากขึ้น จากการเปิดตาราง Krejcie and Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เช็นต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เท่ากับ 375 ตัวอย่าง ใน 26 หมู่บ้าน ค่าสถิติที่ใช้ในการนำเสนอผลการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard division) และค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 40–49 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับจ้าง อาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาล 15 ปี ขี้นไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท เมื่อพิจารณาการมีส่วนร่วม แรงจูงใจในการมีส่วนร่วม และความพึงพอใจต่อนโยบายทั้ง 5 ด้าน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมและระดับแรงจูงใจ และความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของการมีส่วนร่วมและลักษณะความสัมพันธ์ต่อลักษณะของบุคคล พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการพัฒนาสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม และระดับการมีส่วนร่วมด้านความมั่นคงและการรักษาความสงบภายใน อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระดับการศึกษาและรายได้ นั่นก็หมายความว่า กลุ่มประชาชนที่มีการศึกษาน้อย และรายได้ต่ำ จะมีส่วนร่วมในนโยบายทั้ง 2 ด้านค่อนข้างต่ำ เมื่อพิจารณาถึงระดับความพึงพอใจกับลักษณะของประชากรก็พบว่า ระดับความพึงพอใจด้านการบริหารจัดการทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม, ด้านความมั่นคงและการรักษาความสงบภายใน และด้านการส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีขององค์การให้มีประสิทธิภาพมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับ เพศ ระดับการศึกษา และรายได้ แต่มีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามกับอายุของประชาชน นั่นก็หมายความว่า เพศหญิงผู้ที่มีระดับการศึกษาจะมีความพึงพอใจต่อนโยบายทั้ง 3 ด้านค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้สูงอายุกลับมีความพึงพอใจต่อนโยบายทั้ง 3 ด้านค่อนข้างน้อย ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ควรส่งเสริมกลุ่มประชาชนชาย ผู้สูงอายุ และผู้มีระดับการศึกษา และรายได้น้อย เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินนโยบายของเทศบาลเมืองดอกคำใต้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านบริหารจัดการทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และด้านความมั่นคงและการรักษาความสงบภายใน |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1926 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paweena Srichai.pdf | Paweena Srichai | 2.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.