Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1928
Title: | โหราศาสตร์ชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร: ภูมิปัญญาทางภาษาและคุณค่าทางวัฒนธรรม |
Other Titles: | Ethnics’ astrology in Sakon Nakhon Basin: Language Wisdom and Cultural Value |
Authors: | ภาคมฤค, สถิตย์ |
Keywords: | โหราศาสตร์ชาติพันธุ์ ภูมิปัญญาทางภาษา คุณค่าทางวัฒนธรรม แอ่งสกลนคร Ethnics’ Astrology Language wisdom Cultural value Sakon Nakhon Basin |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=904&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาทางภาษา และคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในโหราศาสตร์ชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร จากแหล่งข้อมูลภาคสนามและแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสารโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร 8 กลุ่ม คือ ไทลาว ไทโย้ย ผู้ไท ไทญ้อ ไทแสก ไทพวน กะเลิง และโส้ โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์ภูมิปัญญาทางภาษา และวิเคราะห์คุณค่าทางวัฒนธรรม ผลการศึกษา 2 ด้าน พบว่า 1) ภูมิปัญญาทางภาษา 3 ด้าน คือ ด้านการสร้างคำ พบ 4 ประเภท คือ คำอิสระ มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคำนวณและฤกษ์ และกลุ่มการพยากรณ์, คำประสม มี 4 ประเภท คือ คำประสมอิสระ มี 3 โครงสร้าง คือ 2, 3, 4 หน่วยคำ คำประสมสมาส คำประสมประสาน มี 4 โครงสร้าง คือ แบบ 2, 3, 4, 5 หน่วย และคำประสมทับศัพท์ มี 3 โครงสร้าง คือ 2, 3, 5 หน่วยคำ, คำซ้อน พบ 3 ลักษณะ คือ คำนามซ้อนกัน คำกริยาซ้อนกัน และคำวิเศษณ์ซ้อนกัน คำทับศัพท์ พบคำทับศัพท์ภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร ส่วนการใช้คำพบ 2 ลักษณะ คือ การใช้คำมงคล มี 6 ลักษณะ เช่น แสดงความเจริญ การดำเนินชีวิต และความสุขทางใจ และการใช้คำอวมงคล มี 7 ลักษณะ เช่น แสดงสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง เหตุร้ายทีจะเกิดขึ้น และความเสื่อม ด้านความหมายของคำ จำแนกประเภทความหมายที่ค้นพบได้ 3 กลุ่มความหมาย คือ ความหมายของคำที่จำแนกตามที่อยู่ของความหมาย ความหมายของคำที่จำแนกตามหน้าที่ของความหมาย และความหมายของคำที่จำแนกตามความสัมพันธ์ระหว่างคำกับสิ่งที่เกี่ยวข้องในการสื่อสาร ส่วนกลวิธีการนำเสนอสาร ผลการวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ การลำดับสารเพื่อการนำเสนอ พบ 3 ลักษณะ คือ ยกเกณฑ์ขึ้นแล้วบอกวิธีการใช้ยกเกณฑ์แล้วอธิบายเกณฑ์ และใช้คำบอกเกณฑ์แล้วบอกข้ออธิบายเกณฑ์ ส่วนรูปแบบการนำเสนอ พบว่า มี 3 ลักษณะ คือ การผูกคำประพันธ์ ใช้สัญลักษณ์ และนับเกณฑ์กำหนด 2) คุณค่าทางวัฒนธรรม มี 2 ลักษณะ คือ คุณค่าต่อเอกบุคคล มี 4 ลักษณะ คือ การบอกชะตากำเนิด มี 2 ประการ คือ ความเจริญจากอิทธิพลของดาวต่อชีวิตที่ดีขึ้น โดยเชื่อว่าหากมีการบอกผลการคำนวณ วัน เดือน ปี และปีนักษัตร จะบอกผลดีไปจนสิ้นอายุขัย มี 4 กลุ่ม คือ ชะตาวันเกิด เดือนเกิด ปีเกิด ธาตุ การทำกิจกรรมต่าง ๆ จำแนกเป็นอำนาจ ยาม เวลา วัน และเดือน การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย เป็นการคำนวณและฤกษ์ และการพยากรณ์เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจต่อสิ่งปลูกสร้างให้มีความมั่นคง การครองเรือนเพื่อการประกอบพิธีเกี่ยวกับคู่ครองให้เป็นที่ยอมรับในชุมชน การครองเรือนจึงมีอำนาจโดยตรงต่อเจ้าของชะตาที่จะชี้ผลว่ามีความเหมาะสมที่จะแต่งงานกัน และคุณค่าต่ออเนกบุคคล มี 4 ลักษณะ คือ ความเชื่อ ทั้งฝ่ายดี และฝ่ายร้าย การประกอบอาชีพเกษตรกร โดยทำหน้าที่บอกช่วงเวลาที่ใช้ทำการเกษตร การสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในสังคม การสร้างความเหมาะสมในสิ่งอุปโภค |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1928 |
Appears in Collections: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Satit Pakmaluk.pdf | Satit Pakmaluk | 5.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.