Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1936
Title: การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของประชาชนต่อความสำเร็จในการดำเนินนโยบายขององค์การบริหารท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
Other Titles: Participation and Satisfaction on the Implemented Policies: The Case Study Mae-Na-Rue Sub-District Administrative Organization, Muang, Phayao Province
Authors: เขตขันหล้า, จารุวรรณ
Keywords: ความสัมพันธ์
ความพีงพอใจ
การมีส่วนร่วม
Relationship
Satisfaction
Participation
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1095&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม ความพึงพอใจ และความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานตามนโยบาย 5 ด้านขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ ประจำปีงบประมาณ 2558 ในการศึกษาครั้งนี้ ประชากร ได้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนแต่ละหมู่บ้าน รวมจำนวน 100 คน โดยใช้สูตร Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard division) และค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ผลการศึกษา ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้ามามีส่วนร่วม เป็นคนในพื้นที่ตั้งแต่กำเนิด มีอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก อยู่ในช่วงอายุ 41-60 ปี เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีการศึกษาระดับประถมศึกษา และผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ แยกออกได้ดังต่อไปนี้ ด้านการมีส่วนร่วม ภาพรวมตามนโยบาย 5 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับร้อยละ 35.70 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความมั่นคงและรักษาความสงบเรียบร้อย มีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ร้อยละ 39.45 และด้านการส่งเสริมการบริหารจัดการ องค์กรที่ดีน้อยสุด คือ ร้อยละ 32.79 ด้านความพึงพอใจ ตามนโยบาย 5 ด้าน ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (3.86) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจ 3 ด้าน กล่าวคือ 1) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ 2) ด้านการพัฒนาสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม 3) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง (3.30), (3.43) และ (3.45) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาต่อไป พบว่า ทั้ง 2 ตัวแปรมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน คือ เมื่อประชาชนมีการเข้าร่วมมากประชาชนจะมีระดับความพึงพอใจมากเช่นกัน เมื่อได้ศึกษาต่อไปตามลักษณะบุคคลด้านอายุ เพศ และการศึกษา พบว่า อายุมากขึ้นการมีส่วนร่วมก็มากขึ้นตามไปด้วย เพศหญิงจะมีส่วนร่วมมากกว่าเพศชาย และคนที่มีการศึกษาต่ำมีส่วนร่วมมากกว่าคนที่มีการศึกษาสูง ดังนั้นการกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายในแต่ละด้านเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเพศชาย กลุ่มที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป กลุ่มที่มีอายุน้อยเช่นอายุระหว่าง 20-40 ปี ต่อนโยบายเพิ่มขึ้น เช่นนี้ก็จะส่งผลทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนเพิ่มขึ้นและความพึงพอใจต่อนโยบายมากขึ้น
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1936
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jaruwan Ketkunla.pdfJaruwan Ketkunla3.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.