Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1980
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ยารวง, กุนนิดา | - |
dc.date.accessioned | 2023-06-21T02:56:57Z | - |
dc.date.available | 2023-06-21T02:56:57Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.citation | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=452&doc_type=0&TitleIndex=1 | en_US |
dc.identifier.uri | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1980 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก รวมทั้งปัจจัยที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง เป็นหัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 280 คน โดยวิธิสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นมาตามกรอบแนวคิด PRECEDE Framework ของกรีน และครูเตอร์ (Green & Kreuter, 1999) ประกอบด้วย ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม วิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรกับพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้สถิติ t-test, ANOVA, carrelation และ Multiple regression analysis ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 85.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) มี 3 ตัวแปร ได้แก่ 1) ความเพียงพอของทรัพยากรในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก (x1) 2) ทักษะการใช้ทรัพยากรในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก (x2) 3) การได้รับสนับสนุนกระตุ้นเตือนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขและบุคคลที่ใกล้ชิดเกี่ยวกับการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก (x3) สมการในการทํานายพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลแม่สาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย คือ Y = 6.962 + 0.278(x1) + 0.430(x2) + 0.435(x3) และสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนได้ร้อยละ 69.9 (R2 = 0.699) ดังนั้น รูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงควรมุ่งเน้นการสนับสนุนหรือกระตุ้นเตือนเกี่ยวกับการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรืออาสาสมัครสาธารณสุข รวมถึงส่งเสริมการมีทักษะในการใช้ทรัพยากรป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน และสนับสนุนทรัพยากรในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกให้เพียงพอในการป้องกัน | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.subject | ปัจจัย | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการป้องกันและควบคุม | en_US |
dc.subject | โรคไข้เลือดออก | en_US |
dc.subject | การป้องกันโรคไข้เลือดออก | en_US |
dc.subject | การควบคุมโรคไข้เลือดออก | en_US |
dc.subject | Factor | en_US |
dc.subject | Prevention and control behavior | en_US |
dc.subject | Dengue hemorrhagic fever | en_US |
dc.subject | Dengue prevention | en_US |
dc.subject | Control of dengue fever | en_US |
dc.title | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.title.alternative | A Study on Factors Affecting Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control Behaviors of People in Maesai Subdistrict, Maesai District, Chiang Rai Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kunnida Yaruang.pdf | Kunnida Yaruang | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.