Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2023
Title: | การเปรียบเทียบการวัดสัณฐานวิทยาปีกของผึ้งโพรงไทยระหว่างกลุ่มประชากรผึ้งโพรงไทยทางเหนือจากรังธรรมชาติและประชากรลูกผสมในพื้นที่อำเภอจุน จังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Apis Cerana Indica Wing Morphometric Comparison Between North Population from Natural Colonies and Hybrid Population at Chun District, Phayao Province |
Authors: | ตีฆาอายุ, กฤติยา จันทาพูน, วัฒน์ธนภรณ์ |
Keywords: | ผึ้งโพรงไทย ความผันแปร ปีก การวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน การวัดสัณฐานแบบเรขาคณิต Apis cerana Variation Wing Standard morphometrics Geometric morphometrics |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Abstract: | ผึ้งโพรงไทย (Apis cerana indico) เป็นผึ้งพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางสัณฐานวิทยาและพันธุกรรม จัดกลุ่มประชากรหลักตามการแพร่กระจายทางเหนือหรือใต้ของบริเวณคอคอดกระ ได้แก่ กลุ่มประชากรเหนือและกลุ่มประชากรใต้ เป็นผึ้งที่นิยมเลี้ยงสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรของไทย ในปี พ.ศ. 2561 ได้นำผึ้งโพรงไทยกลุ่มประชากรใต้เข้าเลี้ยงในพื้นที่แปลงเกษตรอินทรีย์ ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ร่วมกับผึ้งโพรงกลุ่มประชากรเหนือตามธรรมชาติ วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อตรวจสอบและติดตามการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของปีกในประชากรผึ้งโพรงไทย กลุ่มประชากรเหนือจากรังธรรมชาติและรังลูกผสมจากพื้นที่แปลงเกษตรอินทรีย์ ตำบลจุน การวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐานวิธีการวัดสัณฐานบนปีก โดยการวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน จำนวน 9 ลักษณะสำคัญแสดงให้เห็นว่าผึ้งโพรงไทยทั้งหมดนี้เป็นผึ้งโพรงไทยกลุ่มประชากรเหนือ ซึ่งยืนยันจากลักษณะดัชนี (Cubital C) ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสติติ (p≤0.05) และวิธีการวัดสัณฐานแบบเรขาคณิตแสดงผลการจำแนกกลุ่ม จากการกำหนดจุดบ่งชี้บนปีกหน้า 19 และ 23 ตำแหน่ง มีศักยภาพในการบ่งชี้ความผันแปรของผึ้งโพรงไทย กลุ่มประชากรเหนือจากรังธรรมชาติและรังลูกผสมได้ชัดเจน โดยเฉพาะการกำหนดจุดบ่งชี้ 23 ตำแหน่ง นอกจากนี้กำหนดจุดบ่งชี้ในเซลล์มีเดียล 11, 7 และ 8 ตำแหน่ง อาจไม่สามารถระบุความผันแปรดังกล่าวได้ การศึกษานี้สรุปได้ว่าประชากรผึ้งโพรงไทยที่ศึกษาในครั้งนี้ เป็นผึ้งโพรงกลุ่มประชากรเหนือทั้งหมดจากผลการยืนยันของคำดัชนี Cubtl แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความผันแปรภายในสัณฐานวิทยาของปีกด้วยการวัดสัณฐานแบบเรขาคณิตด้วยการกำหนดจุดบ่งชี้ 19 และ 23 ตำแหน่ง ที่สามารถระบุความแตกต่างระหว่างผึ้งโพรงรังธรรมชาติที่มีการแพร่กระจายจากจังหวัดที่แตกต่างกัน รวมทั้งกลุ่มผึ้งโพรงลูกผสมได้ ดังนั้นวิธีการวัดสัณฐานวิทยายังคงเป็นวิธีที่มีศักยภาพในการตรวจสอบความแปรผันและติดตามการแพร่กระจายของประชากรผึ้งโพรงไทยได้ในอนาคต |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2023 |
Appears in Collections: | คณะวิทยาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdf | contact | 49.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.