Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2039
Title: | รูปแบบการบริหารจัดการขยะและระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการลดปริมาณขยะของชุมชนบ้านศรีจอมแจ้ง ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Study Waste Management Model and Community Participation Level on Community Waste Reduciton Naan Si Jomjang Hong Hin Sub-District, Chun District, Phayao Province |
Authors: | พัฒน์ทวีกิจ, อนุกูล |
Keywords: | รูปแบบการบริหารจัดการขยะ การมีส่วนร่วม ชุมชน การลดปริมาณขยะ Waste management model Community participation Community Reducing waste |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=990&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการขยะและระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน ต่อการลดปริมาณขยะของชุมชนบ้านศรีจอมแจ้ง ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการขยะ และระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน ต่อการลดปริมาณขยะของชุมชน เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 96 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยใช้สถิติ One way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านศรีจอมแจ้ง มีรูปแบบการบริหารจัดการขยะ โดยการคัดแยกขยะที่ต้นทาง คือ ครัวเรือน และมีการนำขยะที่คัดแยกได้ ไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เช่น ขยะรีไซเคิล นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ หรือมีการนำไปแปรรูปให้เป็นของใช้ในครัวเรือน เช่น นำกล่องนมยูเอชที ไปถักเป็นเสื่อ สานตะกร้า นำกระป๋องกาแฟไปแปรรูปเป็นชุดรับแขก ซองกาแฟสำเร็จรูปนำไปแปรรูปเป็นกระเป๋าถือ เป็นต้น ขยะอินทรีย์ นำไปหมักทำปุ๋ย นอกจากนั้น ยังมีการรณรงค์ใช้ตะกร้า หรือถุงผ้าไปจ่ายตลาด เพื่อลดการนำขยะเข้าสู่ครัวเรือน ซึ่งสอดคล้องกับหลัก 3R’s ได้แก่ ( Reduce, Reuse, Recycle ) โดยมีผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นผู้กำกับและติดตาม จากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า การคัดแยกขยะของชุมชน อยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 98.9) มีการนำขยะไปใช้ประโยชน์ ในระดับดีมาก (ร้อยละ 100) ด้านระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการลดปริมาณขยะของชุมชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.05) โดยแยกเป็นการมีส่วนร่วมในการศึกษาปัญหาของชุมชนในระดับมาก ( x̄ = 3.97) มีส่วนร่วมในการวางแผนของชุมชนในระดับมาก ( x̄ = 3.77) มีส่วนร่วมในการร่วมดำเนินการในระดับมาก ( x̄ = 3.99) และมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนาในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.47) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การคัดแยกขยะของครัวเรือน มีผลทำให้ปริมาณขยะในชุมชนบ้านศรีจอมแจ้ง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การบริหารจัดการขยะในชุมชนโดยใช้หลัก 3R’s มีผลทำให้ปริมาณขยะในชุมชนบ้านศรีจอมแจ้ง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน มีผลทำให้ปริมาณขยะในชุมชนบ้านศรีจอมแจ้ง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2039 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anukuoon Patthaveekit.pdf | Anukuoon Patthaveekit | 991.86 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.