Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2042
Title: | ศึกษาสภาพการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษในเขตภาคเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ |
Other Titles: | The Operating Conditions of Early Intervention Services for Children with Disabilities of Special Education Center under Bureau of Special Education in Northern Thailand |
Authors: | วงศรี, บุญสิตา |
Keywords: | การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ศูนย์การศึกษาพิเศษ เด็กพิการ Early intervention Bureau of Special Education Children with disabilities |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1029&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม สำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษในเขตภาคเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และเพื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม สำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษในเขตภาคเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำแนกตามตำแหน่ง เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ในเขตภาคเหนือ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก ได้แก่ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 8 แบ่งเป็นผู้บริหาร จำนวน 14 คน ครูผู้สอน จำนวน 169 คน รวมทั้งหมดจำนวน 183 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม สำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษ มีการดำเนินงานตามกระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม 7 กระบวนการ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การปฏิบัติสูงที่สุด ได้แก่ การประเมินความสามารถพื้นฐาน รองลงมา คือ การคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษาและการส่งต่อ การประเมินความก้าวหน้า การจัดทำแผน การจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม การเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปของเด็กพิการ และข้อที่มีการปฏิบัติต่ำที่สุด ได้แก่ การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และการส่งต่อ 2) ผู้บริหารและครูผู้สอน มีความคิดเห็นจากสภาพการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษ ไม่แตกต่างกัน 3) ผู้บริหารและครูผู้สอนที่จำแนกเป็นเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน โดยรวมพบว่า มีสภาพการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม สำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษไม่แตกต่างกันทุกด้าน |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2042 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonsita Wongsri.pdf | Boonsita Wongsri | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.