Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2068
Title: ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเสริมงาม จังหวัดลำปาง
Other Titles: Effectiveness of Oral Hygiene Care Behavioral Modification Program by Applying Self-Efficacy Theory Among Older Person with Type 2 Diabetes Mellitus Soemngam Hospital, Lampang Province
Authors: แปงสนิท, ชยุตรา
Keywords: โปรแกรมการดูแลทันตสุขภาพ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
การรับรู้ความสามารถแห่งตน
ผู้สูงอายุ
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
Oral health care program
Health literacy
Self-efficacy
Older person
Type 2 diabetes melitus
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=2021
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดูแลอนามัยช่องปากในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเสริมงาม จังหวัดลำปาง แบ่งการศึกษาออกเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 31 คน ซึ่งมาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ทำการวัดผลก่อนการเข้าร่วม หลังการเข้าร่วม และระยะติดตามผลของโปรแกรม โดยกลุ่มศึกษาเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก โดยใช้หลักการสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน ใช้ระยะเวลา 10 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent T-test, One-way ANOVA และ Repeated measure ANOVA กำหนดระดับนัยสำคัญ , < 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานเรื่องการดูแลอนามัยช่องปากสูงขึ้น (F = 66.682, p < 0.001)การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อการป้องกันโรคสูงขึ้น (F = 7.16, p-value < 0.001) ความคาดหวังในผลที่เกิดจากการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคสูงขึ้น (F = 4.235, p-value < 0.001) และพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากสูงขึ้น (F = 71.280, p-value < 0.001) มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในขณะที่ค่าเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์น้อยลงกว่าก่อนเข้าร่วม และน้อยลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (F = 127.796, p-value < 0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากนี้ สามารถประยุกต์ใช้กับกลุ่มที่มีลักษณะทางประชากรคล้ายคลึงกัน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีความมั่นใจในตนเอง มีความสามารถที่จะกำหนดพฤติกรรมที่เหมาะสมกับตนเองได้ และเกิดพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากที่ดีขึ้นต่อไป
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2068
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chayutra Pangsanit.pdfChayutra Pangsanit3.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.