Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2122
Title: การเปรียบเทียบสถานะสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่สูงและกลุ่มพื้นที่ราบลุ่ม ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Other Titles: Comparison of Health Status Access to Health Services Health Behavior and Quality of Life Between Among Elders in Tribal Ethnic and Flat Area, Maeyao Sub-District, Muang District, Chiangrai Province
Authors: มากปรางค์, จิรนันท์
Keywords: ผู้สูงอายุ
พฤติกรรมสุขภาพ
บริการสุขภาพ
คุณภาพชีวิต
Elderly
Health behavior
Health services
Quality of life
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1063&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบสถานะสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่สูงและกลุ่มพื้นที่ราบลุ่ม ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรใช้ค่าการทดสอบที (Independent sample t-test) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งกลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่สูงและกลุ่มพื้นที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-69 ปี สถานะสุขภาพโดยจำแนกตามการมีโรคประจำตัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่สูงและกลุ่มพื้นที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว และในกลุ่มที่มีโรคประจำตัวนั้น ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่เคยใช้บริการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลที่มีการจัดบริการให้และมากกว่าครึ่งของทั้ง 2 กลุ่ม มีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีความสะดวกในการเข้าถึงสถานบริการสุขภาพที่ใช้ประจำเกือบทั้งหมด มีเพียงแค่ร้อยละ 5.6 ที่ไม่มีความสะดวกในการเข้าถึงสถานบริการสุขภาพที่ใช้ประจำ เนื่องจากมีระยะทางไกลจากบ้าน และการวิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิต 4 ด้าน ของผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่สูงและกลุ่มพื้นที่ราบลุ่ม พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่สูงมีคะแนนมากกว่ากลุ่มพื้นที่ราบลุ่ม ในด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม แต่ในกลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่สูงมีคะแนน โดยรวมทั้ง 4 ด้านมากกว่ากลุ่มพื้นที่ราบลุ่ม แต่ไม่มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการวิเคราะห์และเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพ 4 ด้าน ของผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่สูงและกลุ่มพื้นที่ราบลุ่ม พบว่า พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมทั้ง 4 ด้าน ของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่สูงมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มพื้นที่ราบลุ่ม แต่เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่สูงมีค่าคะแนนเฉลี่ยในด้านการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายมากกว่ากลุ่มพื้นที่ราบลุ่ม ส่วนในด้านการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วยและการจัดการความเครียดมีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มพื้นที่ราบลุ่ม พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านการรับประทานอาหาร (P-value = 0.003)
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2122
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiranan Makprang.pdfJiranan Makprang2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.