Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/218
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ร้ายปล้อง, นิโลบล | - |
dc.date.accessioned | 2020-04-29T08:46:37Z | - |
dc.date.available | 2020-04-29T08:46:37Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.citation | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1374&doc_type=0&TitleIndex=1 | en_US |
dc.identifier.uri | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/218 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาตลาดย้อนยุคเพื่อการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน กรณีศึกษา: ตลาดย้อนยุคบ้านระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวตลาดย้อนยุคบ้านระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และเพื่อศึกษาหาแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดย้อนยุคบ้านระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ให้เกิดความยั่งยืน ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่เนื่องจากผู้วิจัยไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ผู้วิจัยจึงกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรคำนวณจากความน่าจะเป็น โดยการใช้สูตรมีเงื่อนไขอยู่ว่า ลักษณะของตัวอย่างจะต้องมีการกระจายแบบโค้งปกติ (Normal distribution) และการสุ่มแล้วไม่แทนที่ ได้มาจำนวน 96 คน แต่ผู้วิจัยจะเก็บตัวอย่างเป็นจำนวน 100 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบปลายเปิดและปลายปิด ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ หาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะส่วนบุคคลมีผลต่อแนวทางการพัฒนาตลาดย้อนยุคบ้านระจันให้เกิดความยั่งยืน โดยนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจ ในด้านสินค้าและบริการ ด้านราคา ด้านสถานที่จัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด โดยมีข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดย้อนยุคบ้านระจัน คือ ต้องการให้เพิ่มสถานที่นั่งพักผ่อน ตรวจสอบสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน และเพิ่มความหลากหลายของสินค้าให้มากขึ้น องค์ประกอบหลัก และแนวทางที่จะทำให้การท่องเที่ยวตลาดย้อนยุคบ้านระจันให้เกิดความยั่งยืน คือ การพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยว การมุ่งเน้นที่สินค้าและการบริการ การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว ควบคู่กับการอนุรักษ์ความเป็นไทย และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพิ่มการมีส่วนร่วมมากขึ้น ตลอดจนรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน มีการศึกษาผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ มีการวางแผนการท่องเที่ยวระยะยาวและระยะสั้น และจัดทำแผนกลยุทธ์เชิงรุก ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ควรทำการวิจัยแบบผสมผสานเพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น ควรศึกษาถึงปัจจัยทางด้านอื่น ๆ ที่มีผลต่อนักท่องเที่ยว และควรมีการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วย | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน | en_US |
dc.subject | ตลาดย้อนยุค | en_US |
dc.subject | Sustainable tourism | en_US |
dc.subject | Retro markets | en_US |
dc.title | แนวทางการพัฒนาตลาดย้อนยุคเพื่อการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน กรณีศึกษา: ตลาดย้อนยุคบ้านระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี | en_US |
dc.title.alternative | Guidelines for Developing the Retro Market for Tourism to Achieve Sustainability: a Case Study of Banrachan Retro Market Khaibangrachan District Singburi Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
3Nilobol Raiplong.pdf | Nilobol Raiplong | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.