Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/219
Title: ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้รับสาร: กรณีศึกษาประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
Other Titles: Suitable Communication Channel for Recipient: a Case Study of Thawangthong Subdistrict Municipality Muang District Phayao Province
Authors: บุญชัย, กชพรรณ
Keywords: ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
ผู้รับสาร
กลุ่มเป้าหมาย
ประสิทธิภาพ
Communication channel
Recipient
Target group
Efficiency
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1375&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาเรื่อง ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้รับสาร: กรณีศึกษาประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ เพื่อให้ทราบถึงช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการเลือกใช้ให้ตรงกับผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย และทราบถึงศักยภาพ และความสามารถของผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อให้ทราบถึงปัญหา และแนวทางการพัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 13 บ้านห้วยน้ำขาว ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 305 ครัวเรือน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ในการประมาณค่าสัดส่วนของประชากร ซึ่งได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยการจับสลากแบบไม่แทนที่ (Simple random sampling with no replacement) เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 ครัวเรือน โดยผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคลโดยใช้การแจกแจงค่าความถี่ (Frequency) การหาค่าร้อยละ และวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย (Percentage) จากนั้นวิเคราะห์ผลการศึกษา โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาแปลผลตามเกณฑ์การหาค่าเฉลี่ยของอันตรภาคชั้น ซึ่งมีความห่างที่ 0.8 จากนั้น จึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าไคสแควร์ (Chi-square test) คือ ค่าความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ซึ่งเลือกศึกษาเฉพาะผลของตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ เท่านั้น ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ตามลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ดังต่อไปนี้ สื่อเสียงตามสายโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 รองลงมาเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 ซึ่งรองลงมาเป็นสื่ออินเทอร์เน็ต โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 รองลงมาพบว่า เป็นสื่อเคลื่อนที่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 และลำดับสุดท้ายซึ่งเป็นสื่อบุคคล โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสนใจ และข้อเสนอแนะเชิงบวกในการใช้สื่อเสียงตามสาย เป็นสื่อในการกระจายข่าวสารให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา แต่อย่างไรก็ตามสื่อทุกประเภทมีความสำคัญแตกต่างกันไป ตามคุณลักษณะและวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม และต้องคำนึงถึงบริบทของชุมชนที่แตกต่างกันไปด้วย เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/219
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4Kotchaphan Boonchai.pdfKotchaphan Boonchai2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.