Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2271
Title: พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
Other Titles: The Aging Health Behavior in Tambon Wangnua, Wangnua District, Lampang Province
Authors: จินาสวัสดิ์, สุปาณี
Keywords: พฤติกรรมสุขภาพ
ผู้สูงอายุ
สุขภาพ
จังหวัดลำปาง
Health Behavior
Aging
Health
Lampang Province
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=935&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพ และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง จำนวน 379 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Kruskal-Wallis Test, Mann-Whitney U ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ 60-69 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้เฉลี่ย 999 บาทต่อเดือน แหล่งที่มาของรายได้รับจากสวัสดิการจากรัฐ มีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคประจำตัว พฤติกรรมสุขภาพ พบว่า ด้านการรับประทานอาหาร (Mean = 28.88, S.D. = 2.80) อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.69 ด้านการออกกำลังกาย (Mean = 22.86, S.D. = 6.60) อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.34 ด้านการจัดการความเครียด (Mean = 25.87, S.D. = 3.27) อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 69.66 ด้านการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย (Mean = 25.83, S.D. = 3.33) อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 78.36 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า เพศที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อายุที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สถานภาพสมรสที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร พฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย พฤติกรรมสุขภาพด้านการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร พฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รายได้ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การมีโรคประจำตัวที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร พฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย พฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการความเครียดพฤติกรรมสุขภาพด้านการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2271
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supanee Jinasawat.pdfSupanee Jinasawat2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.