Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/230
Title: | แนวทางการส่งเสริมศักยภาพทางการท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสาคร |
Other Titles: | Ways of Developing Tourism Potential in Samut Sakhon Province |
Authors: | ปริวงศ์กุลธร, ณัฐรินทร์ |
Keywords: | การส่งเสริมศักยภาพ การท่องเที่ยว สมุทรสาคร Potential development Tourism Samut Sakhon |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1274&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | งานวิจัยเรื่อง แนวทางการส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวจังหวัดสมุทรสาคร และเพื่อศึกษาศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสาคร การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed method) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 21 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative method) เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คนที่มาเที่ยวจังหวัดสมุทรสาคร และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้การทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวกัน (f-test or One-way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสาครมีศักยภาพหลายด้าน ได้แก่ ทำเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ มีความหลากหลายของการท่องเที่ยว อาทิ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงเกษตร รวมถึงการท่องเที่ยววิถีประมง นอกจากนี้ยังมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ การทำเครื่องเบญจรงค์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บ่งชี้ว่าควรสนับสนุนความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดการการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว สนับสนุนการพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่น รวมถึงการสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดสมุทรสาคร ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเที่ยวแบบไม่ค้างคืน กิจกรรมท่องเที่ยวที่ประทับใจที่สุด คือการไหว้พระขอพร แรงจูงใจให้มาเที่ยวสมุทรสาคร คือ กลยุทธ์การตลาด และการประสัมพันธ์ข้อมูลด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และด้านบุคลากรมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ผู้วิจัยนำข้อมูลวิจัยดังกล่าวไปวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกด้วยวิธี SWOT และ TOWS เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสาคร ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์เชิงรุก ได้แก่ การส่งเสริมการตลาดด้านอาหารทะเลริมชายทะเลใกล้กรุงเทพฯ ยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการสร้างที่พักมาตรฐาน 4-5 ดาว 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข ได้แก่ การส่งเสริมการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย การพัฒนาเครือข่ายภาคีท่องเที่ยว และการยกระดับคุณภาพการบริการของบุคลากรท้องถิ่นเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว 3) กลยุทธ์เชิงรับ ได้แก่ การวางแผนสำรวจแหล่งท่องเที่ยวที่เสื่อมโทรมเพื่อฟื้นฟู การพัฒนาการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการปลูกสำนึกการเป็นเจ้าบ้านที่ดี และ 4) กลยุทธ์เชิงป้องกัน ได้แก่ การส่งเสริม และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เพิ่มหลักสูตรวิชาวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่นเป็นวิชาเลือกของนักเรียนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความรู้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเน้นการนำเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรสาคร |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/230 |
Appears in Collections: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
18.Nuttharin Pariwongkhuntorn.pdf | Nuttharin Pariwongkhuntorn | 8.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.