Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2342
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นันทกิจ, ศิริพา | - |
dc.date.accessioned | 2023-09-08T05:05:35Z | - |
dc.date.available | 2023-09-08T05:05:35Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.citation | http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1852 | en_US |
dc.identifier.uri | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2342 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว และส่วนประสมทางการตลาด (9P's) การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง 2) ประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง 3) ศึกษาองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง และ 4) นำเสนอแนวทางการพัฒนา และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัย ใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเพียร์สัน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และภาคชุมชน จำนวน 36 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ในช่วงวันหยุดเทศกาล โดยเดินทางกับครอบครัวและญาติ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่ำกว่า 2,000 บาท ส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี มีผู้ร่วมเดินทาง 4-5 คน ความถี่ในการเดินทางต่ำกว่า 3 ครั้ง/เดือน ชื่นชอบแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และค้นหาข้อมูลจากสื่อออนไลน์ และนักท่องเที่ยวมีความต้องการปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ด้านศักยภาพการท่องเที่ยว ในด้านกายภาพ มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ในด้านเศรษฐกิจ มีการส่งเสริมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นสินค้า 0TOP นวัตวิถี ทางด้านสังคมมีการรวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ ในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มีการรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการ 3) ด้านองค์ประกอบการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว มีศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ และองค์ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ในด้านกิจกรรม มีการพัฒนากิจกรรมเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนมีส่วนร่วม การคมนาคม สามารถเข้าถึงได้สะดวกโดยรถยนต์ส่วนตัว ทางสิ่งอำนวยความสะดวก มีจุดให้บริการแก่นักท่องเที่ยวแต่ยังไม่เพียงพอ ที่พักแรมมีโฮมสเตย์ แต่ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ด้านการบริการเสริมการท่องเที่ยว มีการจัดกิจกรรมที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และ 4) ด้านการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ผู้วิจัยเสนอรูปแบบ MUST Model ประกอบด้วย การจัดการ (M) ความร่วมมือระหว่างชุมชน (U) การเพิ่มทักษะในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี (S) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (T) | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.subject | แนวทางการพัฒนา | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ | en_US |
dc.subject | ไทยทรงดำ | en_US |
dc.subject | กลุ่มจังหวัดภาคกลาง | en_US |
dc.subject | Development Guidelines | en_US |
dc.subject | Ethnic Tourism | en_US |
dc.subject | Thai Song Dam | en_US |
dc.subject | Central Provinces | en_US |
dc.title | แนวทางการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำกลุ่มจังหวัดภาคกลาง | en_US |
dc.title.alternative | Approaches to the Development and the Promotion of Ethnic Tourism of Thai Song Dum in The Central Region | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siripa Nantakit.pdf | Siripa Nantakit | 12.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.