Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2376
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกันธิพันธ์, สุทธิลักษณ์-
dc.date.accessioned2023-09-28T07:59:05Z-
dc.date.available2023-09-28T07:59:05Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.citationhttp://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1818en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2376-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว จำนวน 205 คน บ้านเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบตรวจความเหมาะสมร่างรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัว จำนวน 86 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินความเป็นไปได้มากที่สุด และมีความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเครือข่ายสนับสนุน รองลงมา คือ ด้านการด้าเนินการ ด้านทรัพยากรทางการศึกษา และ ด้านหลักสูตร ตามลำดับ 2) รูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ เครือข่ายสนับสนุนการจัดการศึกษา ประกอบด้วย ผู้จัดการศึกษา หน่วยงานที่ดำเนินการจัดการศึกษา โรงเรียนเครือข่ายบ้านเรียนและเครือข่ายทางสังคม สถานประกอบการ สถาบันศาสนา ศูนย์การเรียนรู้ หลักสูตรเอกัตบุคคล 3) ทรัพยากรการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการศึกษา แพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์ แหล่งการเรียนรู้ และงบประมาณ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ คือ ด้านการดำเนินการ ได้แก่ ขั้นการเตรียมการจัดการศึกษา ขั้นการวางแผนการจัดการศึกษา ขั้นดำเนินจัดการเรียนรู้ ขั้นวัดผลประเมินผล และขั้นปรับปรุงการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 ผลผลิต ได้แก่ สมรรถนะ 9 ประการ องค์ประกอบที่ 5 ผลลัพธ์ องค์ประกอบที่ 6 ข้อมูลย้อนกลับ องค์ประกอบที่ 7 สภาพแวดล้อม 3) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมมีความเป็นไปได้มากที่สุด และมีความเป็นประโยชน์มากที่สุดen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectการศึกษาขั้นพื้นฐานen_US
dc.subjectการจัดการศึกษาโดยครอบครัวen_US
dc.subjectศตวรรษที่ 21en_US
dc.subjectThe Basic Educationen_US
dc.subjectHome Schoolen_US
dc.subjectThe 21st Centuryen_US
dc.titleรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21en_US
dc.title.alternativeThe Basic Education Home School Model in The 21st Centuryen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutthiluck Kanthipan.pdfSutthiluck Kanthipan6.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.