Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2377
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชัยรัตน์, เกริกกิต-
dc.date.accessioned2023-09-28T08:00:50Z-
dc.date.available2023-09-28T08:00:50Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.citationhttp://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1849en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2377-
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพ องค์ประกอบ และการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยว ให้จังหวัดเลยเป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย 2) ประเมินพฤติกรรม การตัดสินใจ และทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเลย 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดเลยให้เป็นเมืองเป้าหมาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงคุณภาพมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 4 ภาคส่วน จำนวน 27 คน เครื่องมือวิจัย คือ คำถามสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเพียร์สัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ผู้วิจัยนำข้อมูล มาสังเคราะห์ด้วย SWOT Analysis และ TOWS Matrix ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพของการท่องเที่ยวทั้ง 4 ด้าน ด้านวัฒนธรรม มีเอกลักษณ์โดดเด่น ได้แก่ อาหารพื้นบ้าน อาคารเก่า อาภรณ์ โอสถจากน้ำสมุนไพร อารยธรรม ส่วนด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมดีอยู่แล้ว ในขณะที่ด้านสิ่งแวดล้อมต้องปรับปรุงพัฒนา ข้อมูลวิจัยพบว่า องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว (10A) อยู่ในระดับดี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการเข้าถึง ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านที่พัก ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านบรรยากาศของแหล่งท่องเที่ยว ด้านความรอบรู้ของเจ้าหน้าที่ และด้านความเป็นมิตรของคนในท้องถิ่น ส่วนด้านที่ต้องปรับปรุง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ด้านบริการเสริม และด้านผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว หลักการบริหารจัดการ 7 ด้านของแมคคินซีย์ ข้อมูลการวิจัยพบว่า จังหวัดเลยมีการจัดการอยู่ในระดับดีทุกด้าน 2) ลักษณะพฤติกรรมนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุน้อยกว่า 30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาท วัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวในเวลา 2-4 วัน ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อครั้ง 3,001 - 5,000 บาท และจะกลับมาท่องเที่ยวอีก ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว พบว่า ความพร้อมของจุดหมายปลายทางในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ประการ อยู่ในระดับมาก 3) ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางการพัฒนาจังหวัดเลยให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมายด้วย โมเดล LOEI DAN ประกอบไปด้วย การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท่องเที่ยว (L) การพัฒนาองค์กรที่เกี่ยวข้อง (O) การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (E) การทำงานแบบบูรณาการไร้ความขัดแย้ง (I) การพัฒนา (D) การมีกิจกรรมการท่องเที่ยวให้มากขึ้น (A) การสร้างเครือข่าย (N)en_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectเมืองท่องเที่ยวเป้าหมายen_US
dc.subjectจังหวัดเลยen_US
dc.subjectTourism Development Guidelinesen_US
dc.subjectTourism Destinationen_US
dc.subjectLoei Provinceen_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาจังหวัดเลยให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมายen_US
dc.title.alternativeApproaches to the Development of Loei Province Tourism to Become A Tourism Destinationen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krirkkit Chairatana.pdfKrirkkit Chairatana3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.