Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2411
Title: การวิเคราะห์ทางมอร์โฟเมตริกของผึ้งโพรงไทย (Apis cerana indica) และผึ้งโพรงจีน (Apis cerana cerana)
Other Titles: Morphometric Analysis of Asian Honey Bees Apis Cerana Indica and Apis Cerana Cerana
Authors: ดีเมฆ, บวรกูณฑ์
เถื่อนชื่น, ปรียาอร
สมสัตย์, สไบทิพย์
Keywords: ผึ้งโพรง Apis cerana
การวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน
การวัดสัณฐานเชิงเรขาคณิต
การระบุชนิดย่อย
Asian honey bee
Apis cerana, Standard morphometric
Geometric morphometric
Subspecies identification
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: การวิเคราะห์การวัดสัณฐานแบบมาตรฐานและทางเรขาคณิตดำเนินการศึกษาในผึ้งโพรง (Apis cerana) จำนวน 51 รัง 388 ตัวอย่าง ซึ่งตัวอย่างเก็บมาจากกลุ่มผึ้งโพรงไทย (A. c. indica) ทางเหนือของประเทศไทย (n=17 รัง, 153 ตัวอย่าง) และผึ้งโพรงจีน (A. c. cerana) จากเมืองกว่างโจวและเมืองฝูโจว ของประเทศจีน (n=29, 185) และผึ้งพันธุ์จากจังหวัดเชียงใหม่ (n=5, 50) เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ ผลการวิเคราะห์การวัดสัณฐานแบบมาตรฐานแสดงให้เห็นว่าลักษณะสำคัญที่ศึกษาในทุกโครงสร้าง ได้แก่ ปีก หัว ปล้องท้องด้านบนที่ 3 4 6 และขาหลัง แสดงความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ 0.05) ระหว่างกลุ่มผึ้งโพรงไทยและผึ้งโพรงจีน ยกเว้นลักษณะสำคัญในปีก ได้แก่ มุม G18 D7 และ A4 ไม่แสดงนัยสำคัญทางสถิติ ผลของการวิเคราะห์จัดกลุ่มผึ้งโพรงแบ่งออกได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ ผึ้งโพรงไทย ผึ้งโพรงจีน (กว่างโจว) ผึ้งโพรงจีน (ฝูโจว) และผึ้งพันธุ์ ซึ่งโครงสร้างส่วนหัว และส่วนปล้องท้องด้านบน แสดงการจัดกลุ่มของผึ้งโพรงจีนจากเมืองกว่างโจว และเมืองฝูโจวได้ เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มของผึ้งโพรงไทยและผึ้งโพรงจีน พบว่า ค่าร้อยละการจำแนกกลุ่มถูกต้องจากลักษณะในโครงสร้างปีก ส่วนหัว ส่วนปล้องท้องด้านบน และส่วนขาหลัง แสดงค่าร้อยละเท่ากับ 93.30, 96.00, 96.40 และ 96.80 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์นี้แนะนำให้ใช้ลักษณะสำคัญทั้งหมดในการวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน ซึ่งจะมีประสิทธิภาพและมีค่าการจำแนกกลุ่มผึ้งโพรงไทยและผึ้งโพรงจีนได้ถูกต้องร้อยละ 99.00 นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์การวัดสัณฐานทางเรขาคณิตบนปีกหน้า แสดงผลการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่มผึ้งโพรงไทยและผึ้งโพรงจีนได้ถูกต้องร้อยละ 73.50 ซึ่งแสดงค่าต่ำกว่าวิธีการวัดสัณฐานแบบมาตรฐานบนปีกหน้าที่มีค่าการจำแนกกลุ่มถูกต้องร้อยละ 91.90 การศึกษานี้ สรุปได้ว่าวิธีวัดสัณฐานแบบมาตรฐานบนปีกและทุกลักษณะ จำนวน 23 ลักษณะ สามารถจำแนกชนิดย่อยผึ้งโพรงได้ดีกว่าการวัดสัณฐานทางเรขาคณิตบนปีก ซึ่งการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ประกอบการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและระบุชนิดย่อยของผึ้งโพรงไทย ผึ้งโพรงจีน และผึ้งโพรงลูกผสมในอนาคต
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2411
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.