Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2424
Title: การศึกษาอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงและประเมินการกักเก็บคาร์บอนของไผ่ในพื้นที่ป่า มหาวิทยาลัยพะเยา
Other Titles: The Study of the Photosynthesis Rate and the Carbon Storage Evaluation in Bamboo Forest of University of Phayao
Authors: วงค์หาญ, ณัฐณิชา
นิธิยศไพศาล, วชิรวิชญ์
ขำโตนด, วัลลภ
Keywords: ไผ่
อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
การกักเก็บคาร์บอน
มหาวิทยาลัยพะเยา
Bamboo
Photosynthesis rate
Carbon storage
University of Phayao
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: การศึกษาอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงและประเมินการกักเก็บคาร์บอนของไผ่ในพื้นที่ป่า มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของไผ่ และประเมินการกักเก็บคาร์บอนของไผ่ ทำการศึกษาในพื้นที่ป่าไผ่ บริเวณศูนย์อนุบาลพันธุ์ไม้ และบริเวณข้างพระนาคปรก ทำการวัดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้เครื่องวัดการสังเคราะห์ด้วยแสงแบบควบคุมสภาพแวดล้อม และวัดปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อหาความสัมพันธ์ เก็บข้อมูลความสูง และเส้นผ่านศูนย์กลางเพื่อคำนวณหามวลชีวภาพ โดยใช้สมการแอลโลเมตริก และคำนวณการกักเก็บคาร์บอน ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ป่าไผ่ทั้ง 2 พื้นที่ มีค่าความสัมพันธ์ (R2) ระหว่างอัตราการ สังเคราะห์ด้วยแสง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากกว่า 0 ทุกค่า แสดงว่าเมื่ออัตราการคายน้ำ การเปิดปิดของปากใบ และความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในเซลล์สูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงขึ้นเช่นกัน และเมื่อความเข้มแสง ความชื้น และอุณหภูมิสูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงขึ้นด้วยเช่นกัน และการศึกษามวลชีวภาพ พบว่า มวลชีวภาพของไผ่ในบริเวณศูนย์อนุบาลต้นไม้ มีมวลชีวภาพรวมทั้งหมด 0.160 ตันต่อเฮกแตร์ และในบริเวณข้างพระนาคปรก มีมวลชีวภาพรวมทั้งหมด 0.212 ตันต่อเฮกแตร์ ซึ่งการกักเก็บคาร์บอนในมวล ชีวภาพของไผ่ในบริเวณศูนย์อนุบาลต้นไม้ มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนรวมทั้งหมด 0.075 ตัน คาร์บอนต่อเฮกแตร์ และในบริเวณข้างพระนาคปรกมีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนรวมทั้งหมด 0.100 ตันคาร์บอนต่อเฮกแตร์
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2424
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.