Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2432
Title: การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat เพื่อการสำรวจเส้นทางการเดินป่า เขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง (จังหวัดพะเยา-ลำปาง) เส้นทางหมายเลข 4 และ 5
Other Titles: Application of Landsat Satellite Images for Forest Trails Survey in Doi Luang National Park (Phayao), Route No. 4 and 5
Authors: ยศธสาร, เทพพิทักษ์
กล้าหาญ, ลัทธพล
Keywords: อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
Forest survey
Landsat
Remote sensing
Satellite image
Doi Luang National Park
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเขตร้อนชื้นบริเวณเส้นศูนย์สูตร มีหลากหลายทางชีวภาพสูง งานวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยหลวง (จังหวัดพะเยา-ลำปาง) เส้นทางหมายเลข 4 และ 5 โดยนำเทคนิคการถ่ายภาพระยะไกลด้วยดาวเทียมมาใช้ในการวิเคราะห์ค่าดัชนีความหนาแน่นของพรรณพืชเพราะสามารถครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อหาเอกลักษณ์พืชโดยใช้ Pictorial key จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียม Landsat โดยใช้ฐานข้อมูล USGS เพื่อสร้างแผนที่วิเคราะห์พื้นที่ป่าไม้ โดยใช้ค่าดัชนีพรรณพืช (NDVI) จากโปรแกรม ArcGIS 10.3 สร้ างแผนที่การเดินศึกษาธรรมชาติโดยใช้ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ และออกแบบแบบจำลองสถานีตรวจอากาศ, พื้นที่ให้ความรู้ และพื้นที่พักแรม โดยใช้โปรแกรม Google SketchUp จากการศึกษาพบว่า เส้นทางหมายเลข 4 มีระยะทางรวม 4.00 กิโลเมตร ตามเส้นทางมีน้ำตก 5 ขั้น พบเฟิร์นกระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 521 เมตร ถึง 1638 เมตร จำนวน 11 วงศ์ 25 สกุล และ 34 ชนิด โดยวงศ์ที่พบมากที่สุด คือ polypodiaceae จำนวน 10 ชนิด และเส้นทางหมายเลข 5 มีระยะทางรวม 7.14 กิโลเมตร เส้นทางนี้พบจุดพักทั้งหมด 5 จุด และแหล่งน้ำ 1 จุด พบเฟิร์น จำนวน 9 วงศ์ 14 สกุล และ 27 ชนิด โดยวงศ์ที่พบมากที่สุด คือ polypodiaceae และ pteridaceae จำนวน 6 ชนิด, ก่อจำนวน 1 วงศ์, 3 สกุล และ 9 ชนิด กระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 922 เมตร ถึง 1,295 เมตรโดย 3 สกุล ที่พบ คือ castanopsis, lithocarpus และ quercus ซึ่งชนิดที่พบมากสุด คือ quercus auricoma A. camus และชนิดที่มีลักษณะเด่นกาบหุ้มคล้ายจาน คือ quercus rambottomii A. camus, หญ้าถอดปล้อง 1 ชนิด กระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 668 เมตร คือ equisetum ramosissimum desf. subsp. debile (roxb. ex vaucher) hauke, ยางนา 1 ชนิด กระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 586 เมตร ถึง 1,064 เมตร คือ dipterocarpus alatus roxb. ex G. don. และปรง 1 ชนิด กระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 1,275 เมตร ถึง 1,319 เมตร คือ cycas sp. ทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ใช้ค่าดัชนีพรรณพืช (NDVI) Landsat 7 มีพื้นที่ป่าไม้หนาแน่นมากที่สุด 23%, หนาแน่นมาก 32%, หนาแน่นปานกลาง 27%, หนาแน่นน้อย 14% และหนาแน่นน้อยที่สุด 4% ส่วนข้อมูลจากดาวเทียม Landsat 8 มีพื้นที่ป่าไม้หนาแน่นมากที่สุด 12%, หนาแน่นมาก 21%, หนาแน่นปานกลาง 25%, หนาแน่นน้อย 25% และหนาแน่นน้อยที่สุด 14% ด้านการออกแบบแบบจำลองสถานีตรวจอากาศ ประกอบด้วยเครื่องมือ 3 ชุด คือ เครื่องวัดทิศทางและความเร็วลม เครื่องวัดอุณหภูมิ และเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบแก้วตวง ออกแบบพื้นที่ให้ความรู้ โดยแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านหน้าเป็นข้อมูลให้ความรู้ของพื้น ที่นั้น ๆ เช่น น้ำตกผาเกล็ดนาค สันตาดจาน เป็นต้น ด้านหลังแสดงตำแหน่งของนักท่องเที่ยว แบบจำลองพื้นที่พักแรมโดยออกแบบจากโครงสร้างแบบเดิมประกอบด้วย 1 ห้องนอน 1 ห้องครัว และ 1 ห้องน้ำมีพื้นที่ใช้สอย 27.75 ตารางเมตร
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2432
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.