Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2441
Title: การประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะของตัวละครชูชกในมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา
Other Titles: The Construction of The Symbolic Meaning of The Characters to the Chu Chok in Mahajati Vessantara Jataka Lanna Issue
Authors: สุยะ, ยุทธพงษ์
Keywords: การประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะ
การวิเคราะห์เชิงสัญญะ
ความเป็นอื่น
มหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา
The construction of the symbolic meaning
The analysis of the symbolic
The otherness
Mahajati Vessantara Jataka Lanna
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1809
Abstract: บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาการประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะของตัวละครชูชก ที่ปรากฏในมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา และศึกษากระบวนการสร้างความเป็นอื่นให้แก่ชูชก ในมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา และกระบวนการสร้างความเป็นอื่นให้แก่ชูชก ที่ปรากฎในมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา ฉบับสร้อยสังกร รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระอุบาลีคุณูป-มาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) ฉบับไม้ไผ่แจ้เรียวแดง รวบรวมและเรียบเรียงโดย ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี และฉบับกุฎีคำ รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระครูอดุลสีล-กิตติ ซึ่งในการศึกษาจะเน้นการวิเคราะห์โดยเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาวรรณกรรมกับแนวคิดทางสังคมเข้าด้วยกัน โดยอาศัยทฤษฎีสัญวิทยาและแนวคิดความเป็นอื่น นำเสนอและวิเคราะห์แบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สัญญะที่ปรากฏในมหาชาติเวสสันดรชาดกทั้งสามสำนวนนั้นปรากฏ 3 ลักษณะ คือ สัญญะที่ปรากฎจากรูปลักษณ์ภายนอก หมายถึง รูปร่างลักษณะภายนอกของชูชก สัญญะที่ปรากฏจากพฤติกรรม หมายถึง กิริยา วาจา ท่าทางที่ชูชกแสดงให้ผู้อ่านได้พบ และสัญญะที่ปรากฏจากความรู้สึก หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นมีต่อชูชก ซึ่งอาจเป็นวลี ข้อความที่กล่าวถึงชูชกโดยตรงหรือข้อความที่ ผู้แต่งประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะให้แก่ตัวละครชูชก จากการศึกษากระบวนการสร้างความเป็นอื่นให้แก่ชูชกนั้น พบว่า กระบวนการสร้างความเป็นอื่นให้กับตัวละครชูชกนั้นได้ถ่ายทอดผ่านตัวละครชูชกด้วยกระบวนการสร้างความเป็นอื่นจากมนุษย์โดยทั่วไป กระบวนการสร้างความเป็นอื่นด้านเชื้อชาติ และกระบวนการสร้างความเป็นอื่นด้านวรรณะพราหมณ์ อันเป็นกระบวนการที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อสะท้อนความคิดทางด้านความเชื่อ โดยมีการผลิตซ้ำ ตอกย้ำ และกำหนดกระบวนการดังกล่าวให้สืบทอดผ่านวรรณกรรมมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนามาจนถึงปัจจุบัน
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2441
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuttapong Suya.pdfYuttapong Suya2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.