Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2492
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | หาญกลาง, ธเณศ | - |
dc.contributor.author | คำแก้ว, สุวนันท์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-12-15T04:03:33Z | - |
dc.date.available | 2023-12-15T04:03:33Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2492 | - |
dc.description.abstract | ชันโรงเป็นแมลงสังคมมีความหลากหลายสูง และมีความสัมพันธ์กับพืชดอก ซึ่งชันโรงเก็บเกสรเพื่อใช้เป็นอาหาร และเก็บยางไม้เพื่อสร้างสารพรอพอลิสที่มีความเหนียว ใช้ในการสร้างและป้องกันรัง การศึกษานี้ทำการเปรียบเทียบความผันแปรทางสัณฐานวิทยาของชันโรงที่ออกเก็บเกสรและยางไม้ 3 สกุล ได้แก่ Homtrigona, Tetrigona และ Tetragonula โดยใช้การวิเคราะห์การวัดสัณฐานแบบมาตรฐานของโครงสร้างปีก หนวด และขาหลัง ร่วมกับการวัดสัณฐานเรขาคณิตโดยการกำหนดเครื่องหมายบ่งชี้ จำนวน 14 ตำแหน่งบนปีกหน้า การวิเคราะห์ทางสถิติทำการเปรียบเทียบชันโรงเก็บเกสร และยางไม้ระหว่างรังสกุล และ 3 ช่วงเวลาการเก็บตัวอย่าง ผลการศึกษาด้วยวิธีการวัดสัณฐานบนโครงสร้างปีก หนวด และขาหลัง แสดงความแตกต่างระหว่างสกุลของชันโรง โดยที่ชันโรงเก็บเกสร และยางไม้ในแต่ละสกุลไม่แสดงความแตกต่างทางสถิติ (p ≤ 0.05) แต่แสดงแนวโน้มความผันแปรในลักษณะทางสัณฐานวิทยาของชันโรงทั้งสองกลุ่ม และผลการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มระหว่างชันโรงเก็บเกสร และยางไม้ด้วยโครงสร้างปีกแสดงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลต่ำกว่าการใช้ลักษณะทั้งหมด แต่การวัดสัณฐานทางเรขาคณิตแสดงค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอลที่ดีมากกว่า เช่นเดียวกับผลของการทดสอบประสิทธิภาพการจำแนกกลุ่มของชันโรงออกหาอาหารทั้งสอง แสดงให้เห็นว่าค่าร้อยละการจัดกลุ่มด้วยวิธีการวัดสัณฐานเรขาคณิตปีกมีศักยภาพดีมากกว่า นอกจากนี้ผลการเปรียบเทียบข้อมูลการวัดสัณฐานของช่วงเวลาการเก็บตัวอย่างของทั้งในชันโรงทั้งสองที่ออกเก็บเกสร และยางไม้ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของสัณฐานวิทยาที่ศึกษาในบางลักษณะเท่านั้น อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การวัดทางสัณฐานมีศักยภาพในการตรวจสอบความผันแปรของประชากรชันโรงที่มีหน้าที่แตกต่างกันภายในรังเดียวกัน และการเก็บตัวอย่างในช่วงเวลาแตกต่างกันได้ แม้ว่าการทดสอบค่าเฉลี่ยของสัณฐานวิทยาไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มบ่งชี้ถึงแนวโน้มของความผันแปรของชันโรงที่ออกเก็บเกสร และยางไม้ได้ดี ซึ่งการแสดงผลเปรียบเทียบความผันแปรของช่วงเวลาการเก็บตัวอย่าง พบการปะปนกันสูง ดังนั้น การศึกษานี้แนะนำวิธีการวัดสัณฐานวิทยาแบบมาตรฐานร่วมกับทางเรขาคณิตบนโครงสร้างปีก อาจจะมีศักยภาพสูงกว่าการวัดสัณฐานแบบมาตรฐานบนโครงสร้างปีก หนวด และขาหลัง เพียงอย่างเดียว และสนับสนุนวิธีการวัดทางสัณฐานเนื่องจากมีศักยภาพสูงในการตรวจสอบความผันแปรของชันโรงภายในรังเดียวกัน ชนิด และสกุลของชันโรงได้ | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์การวัดสัณฐาน | en_US |
dc.subject | สัณฐานวิทยา | en_US |
dc.subject | ขาหลัง | en_US |
dc.subject | ตะกร้าเก็บเกสร | en_US |
dc.subject | ชันโรง | en_US |
dc.subject | Morphometric analysis | en_US |
dc.subject | Morphology | en_US |
dc.subject | Hind legs | en_US |
dc.subject | Pollen basket | en_US |
dc.subject | Stingless bees | en_US |
dc.title | การเปรียบเทียบสัณฐานวิทยาของชันโรงที่ออกเก็บอาหารระหว่างชันโรงที่ออกเก็บเกสรและเก็บยางไม้ในสกุล Homotrigona, Tetrigona และ Tetragonula | en_US |
dc.title.alternative | Comparative Morphology of Stingless Bees Between Pollen and Resin Foragers in Homotrigona Tetrigona and Tetragonula | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | คณะวิทยาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdf | contact | 49.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.