Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/279
Title: | รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักโยนิโสมนสิการ |
Other Titles: | A Model of Internal Supervision in Basic Educational Institutions By Yonisomamasikara Concept |
Authors: | สะใบบาง, พิศิษฎ์สรคุณ |
Keywords: | รูปแบบการนิเทศภายใน หลักโยนิโสมนสิการ The model of the internal supervision Yonisomamasikara concept |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1256&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักโยนิโสมนสิการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษา 4 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการนิเทศภายในสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ศึกษาแนวคิดหลักโยนิโสมนสิการตามกรอบความคิด ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สมัยเมื่อดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมปิฎก ขั้นที่ 3 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยืนยันความสมเหตุสมผล และความเป็นไปได้ในการนำหลักโยนิโสมนสิการไปใช้ เป็นคำถามปลายเปิด จำนวน 5 ข้อ ขั้นที่ 4 เมื่อได้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักโยนิโสมนสิการ แล้วนำไปทดลองใช้เพื่อประเมิน โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง เลือกโดยวิธีเจาะจง เป็นบุคลากรของโรงเรียนวัดปทุมคงคา จำนวน 30 คน รายงานผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ พบว่า รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักโยนิโสมนสิการ ควรมีการดำเนินการ 6 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นสืบสาวหาเหตุปัจจัย เป็นขั้นศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการการนิเทศภายในสถานศึกษา 2) ขั้นวิภัชชวาท เป็นการคิดและพูดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ก่อนและหลังซึ่งตรงกับการวางแผน 3) ขั้นอรรถธรรมสัมพันธ์ เป็นข้อปฏิบัติหรือวิธีการที่ส่งผลตามความมุ่งหมายที่วางไว้ ซึ่งตรงกับวิธีการนิเทศที่ส่งผลให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการนิเทศ 4) ขั้นอริยสัจ คุณโทษ และทางออก เป็นการดำเนินงานตามแผน ตรงกับขั้นดำเนินงานแก้ปัญหาที่ตรงกับสาเหตุ 5) ขั้นอยู่กับปัจจุบัน เป็นการยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำในอดีต พร้อมที่จะทำปัจจุบันให้ดีขึ้น ซึ่งตรงกับผลการประเมิน และ 6) ขั้นปลุกเร้ากุศล เป็นขั้นที่นำเอาประสบการณ์ความรู้มาปรับปรุงพัฒนางานต่อไป ซึ่งตรงกับนำผลการประเมินการนิเทศมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา เมื่อผู้วิจัยนำรูปแบบ การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักโยนิโสมนสิการ ไปทดลองใช้กับผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนวัดปทุมคงคา ผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในโรงเรียน โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 48 ข้อ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด x̄=4.57 |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/279 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
52.Phrakrupisitsorakhun Sabaibang.pdf | Phrakrupisitsorakhun Sabaibang | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.