Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/314
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | งามตา, ณัฐธิดา | - |
dc.date.accessioned | 2020-06-08T07:27:26Z | - |
dc.date.available | 2020-06-08T07:27:26Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.citation | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1480&doc_type=0&TitleIndex=1 | en_US |
dc.identifier.uri | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/314 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการกับการบริหารงานวิชาการ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 สหวิทยาเขตอิงโขง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ซึ่งมี 11 สถานศึกษา จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารวิชาการของสถานศึกษา โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ตำแหน่งครูผู้สอน และมีประสบการณ์การทำงานในสถานศึกษามากกว่า 15 ปีขึ้นไป 2) การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการทั้ง 6 ด้าน มีระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลกับการบริหารงานวิชาการ พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการมากที่สุดคือ ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ซึ่งมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง 5) การสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ซึ่งมีปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน (X3) ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา (X1) ปัจจัยด้านความพร้อมเกี่ยวกับสถานที่ (X4) และปัจจัยด้านครูผู้สอน (X2) ที่เป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาที่ดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) มีค่าเท่ากับ 0.865 สัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ 0.748 หรือมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 74.80 สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 0.645 + 0.254X3 + 0.246X1 + 0.195X4 + 0.141X2 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน y = 0.329Zy(X3) + 0.299Zy(X1) + 0.203Zy(X4) + 0.143Zy(X2) | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.subject | ปัจจัยที่ส่งผล | en_US |
dc.subject | การบริหารงานวิชาการ | en_US |
dc.subject | Academic administration | en_US |
dc.subject | Factors affecting | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 สหวิทยาเขตอิงโขง | en_US |
dc.title.alternative | Factors Affecting Academic Administration of Schools under Ing-Khong Campus Group, The Secondary Educationnal Area Office 36 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59207654.pdf | Nathida Ngamta | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.