Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/377
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorโยชิดะ, ดวงดาว-
dc.date.accessioned2020-06-23T07:21:31Z-
dc.date.available2020-06-23T07:21:31Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1248&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://10.209.10.67:8080/handle/123456789/377-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการตลาดท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นมีความคาดหวัง และมีความพึงพอใจในการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทย 2) สำรวจความคิดเห็นของหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการนำเที่ยว ผู้ประกอบการท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น เกี่ยวกับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวไทย สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ในช่วง พ.ศ.2560-2564 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความคาดหวัง และความพึงพอใจในการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทย กับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวไทย สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น 4) นำเสนอกระบวนทัศน์เชิงนโยบาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ และโครงการ ในการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวไทยที่เหมาะสม สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น การศึกษาเป็นการวิจัยแบบผสม ในการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น จำนวน 385 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กับผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดกระบวนทัศน์เชิงนโยบาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ และโครงการ ในการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยว จำนวน 31 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยปัจจัยส่วนประสมการตลาดท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นมีความคาดหวัง และมีความพึงพอใจในการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยสูงสุด คือ ด้านราคา ส่วนปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีค่าเฉลี่ยต่าสุด 2) ความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลต่อกระบวนทัศน์ในการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวไทย สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น พบว่า นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มมาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้นใน 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยมีทรัพยากรท่องเที่ยวที่หลากหลาย และค่าครองชีพถูก แต่ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในแหล่งท่องเที่ยว และขาดการส่งเสริมการตลาดเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น รวมถึง ขาดความเชื่อมั่นต่อการให้บริการของบริษัทนำเที่ยวในประเทศไทย เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรที่สามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ 3) นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นมีความคาดหวัง และความพึงพอใจต่อด้านราคามากที่สุด มีความสัมพันธ์กับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ว่า ราคาเป็นจุดแข็งของการท่องเที่ยวประเทศไทย 4) กระบวนทัศน์ในการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่เหมาะสม ได้แก่ ด้านปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้สูงอายุในแหล่งท่องเที่ยว ด้านทักษะภาษาญี่ปุ่นของบุคลากร ด้านการส่งเสริมการตลาดเฉพาะกลุ่ม ด้านการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยว ด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ และด้านการกระจายรายได้การท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรม ตัวชี้วัดการพัฒนาการท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ได้แก่ รายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น มีจำนวนการใช้บริการบริษัทนำเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นเดินทางมาท่องเที่ยวไทยมากกว่า 1 ครั้ง เพิ่มขึ้นและมีจำนวนวันพักแรมเพิ่มขึ้น การดำเนินกลยุทธ์ และโครงการทางการตลาด สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ประกอบไปด้วย กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เชิงป้องกัน กลยุทธ์เชิงแก้ไข และกลยุทธ์เชิงรับen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectการพัฒนาตลาดท่องเที่ยวen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวผู้สูงอายุในประเทศไทยen_US
dc.subjectนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นen_US
dc.subjectTourism marketingen_US
dc.subjectSenior tourism in Thailanden_US
dc.subjectJapanese senior travelersen_US
dc.titleกระบวนทัศน์ในการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวประเทศไทยสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในช่วง พ.ศ. 2560-2564en_US
dc.title.alternativeParadigm to Enhance Thailand Tourism Marketing Development for Japanese Senior Citizens During 2017-2021en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
44.Duangdao Yoshida.pdfDuangdao Yoshida7.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.