Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/486
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
Other Titles: Development of a Cooperative Education Management Model of Thai-Nichi Institute of Technology (TNI)
Authors: จันทราเกตุรวิ, จิตรา
Keywords: สหกิจศึกษา
การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น (โมโนซุคุริ)
Cooperative education
Japanese management (Monozukuri)
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1212&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) สร้างรูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 3) ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติ และ 4) ทดลองใช้รูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จากความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ตามแนวคิดและหลักการของการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น (โมโนซุคุริ) โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญสหกิจศึกษา ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ในการนำรูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ที่สร้างขึ้นไปปฏิบัติจากความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยใช้แบบสอบถาม และ ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ด้านการจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากสหกิจศึกษา และสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากแบบสอบถาม ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) สภาพการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ด้านการจัดองค์กรประสานงานสหกิจศึกษา และด้านการจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากสหกิจศึกษา มีการดำเนินงานในระดับปานกลาง ส่วนด้านการจัดหลักสูตร และกิจกรรมสหกิจศึกษา มีการดำเนินงานในระดับมาก 2) รูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ตามแนวคิดและหลักการของการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น (โมโนซุคุริ) จากการสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดองค์กรประสานงานสหกิจศึกษา ด้านการจัดหลักสูตรและกิจกรรมสหกิจศึกษา และด้านการจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากสหกิจศึกษา 3) การศึกษาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นไปปฏิบัติ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นด้วยกับรูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นที่สร้างขึ้นโดยรวม และในแต่ละด้านในระดับมากและสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) ผลการทดลอง ใช้รูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ด้านการจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากสหกิจศึกษา พบว่า อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาหรืออาจารย์นิเทศ และเจ้าหน้าที่ศูนย์สหกิจศึกษา มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นที่สร้างขึ้น ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนพนักงานพี่เลี้ยงและผู้นิเทศงานสหกิจศึกษาของสถานประกอบการ และนักศึกษาสหกิจศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นที่สร้างขึ้นในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01เช่นกัน
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/486
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
8.Chittra Chantragatrawi.pdfChittra Chantragatrawi7.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.