Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/783
Title: ผลของวิธีการสกัดต่อสมบัติทางเคมีกายภาพและสมบัติเชิงหน้าที่ของเส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือ
Other Titles: Effect of Extraction Methods on the Physicochemical and Functional Properties of Dietary Fiber from the Residual Bamboo Shoots
Authors: วิชาเร็ว, กมลลักษณ์
Keywords: หน่อไม้เศษเหลือ
หน่อไม้ผง
เส้นใยอาหาร
สมบัติทางเคมีกายภาพ
สมบัติเชิงหน้าที่
Bamboo shoot wastes
Bamboo shoot powder
Dietary fiber
Physicochemical properties
Functional properties
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1574&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: อุตสาหกรรมแปรรูปหน่อไม้สร้างเศษเหลือจากการตัดแต่งประมาณร้อยละ 50 ของหน่อไม้ทั้งหมดที่นำมาแปรรูป งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาผลของวิธีการและสภาวะที่เหมาะสม ในการผลิตเส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือส่วนฐาน และปลายยอดต่อสมบัติทางเคมีกายภาพ และสมบัติเชิงหน้าที่ของเส้นใยอาหาร จากการศึกษาวิธีการที่เหมาะสม ในการผลิตหน่อไม้ผงจากหน่อไม้เศษเหลือ พบว่า หน่อไม้ผงจากหน่อไม้เศษเหลือส่วนฐานที่ได้จากการย่อยด้วยเอนไซม์อะไมเลสและโปรตีเอส (BSP-EN) ทำให้ได้ปริมาณของเส้นใยอาหารทั้งหมด (ร้อยละ 79.05) เส้นใยอาหารที่ละลายน้ำ (ร้อยละ 34.72) ความสามารถในการอุ้มน้ำ (15.08 กรัมต่อกรัม) และการพองตัว (7.23 มิลลิลิตรต่อกรัม) สูงสุด ตามลำดับ เมื่อศึกษาชนิดและลำดับของเอนไซม์ที่เหมาะสมในการผลิตเส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือ พบว่า เส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือ ส่วนฐานที่ผลิตได้จากกรรมวิธีการย่อยด้วยเอนไซม์อะไมเลส กลูโคอะไมเลส โปรตีเอส และไลเปส (AGP-L) ทำให้ได้ปริมาณเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำ (ร้อยละ 5.33) ความสามารถในการอุ้มน้ำ (10.46 กรัมต่อกรัม) และการพองตัว (8.71 มิลลิลิตรต่อกรัม) มากที่สุด ขณะที่เส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือส่วนปลายยอด ที่ผลิตได้จากกรรมวิธีการย่อยด้วยเอนไซม์อะไมเลส โปรตีเอส ไลเปส และกลูโคอะไมเลส (APL-G) ทำให้ได้ปริมาณเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำ (ร้อยละ 7.20) ความสามารถในการอุ้มน้ำ (14.06 กรัมต่อกรัม) และการพองตัว (11.89 มิลลิลิตรต่อกรัม) สูงสุด เมื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือส่วนฐาน และปลายยอดด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง พบว่า ความเข้มข้นและระยะเวลาในการสกัดของเอนไซม์ไลเปส มีผลต่อปริมาณผลผลิตทั้งหมดที่สกัดได้ และความสามารถในการอุ้มน้ำของเส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือส่วนฐาน โดยสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด คือ ปริมาณของเอนไซม์ไลเปสที่ความเข้มข้น 3 ยูนิตต่อกรัม และระยะเวลาในการสกัด 39.61 นาที ทำให้ได้ปริมาณผลผลิตทั้งหมดที่สกัดได้ ร้อยละ 13.51 และความสามารถในการอุ้มน้ำ 10.21 กรัมต่อกรัม ดังนั้น กรรมวิธี AGP-L และ APL-G มีความเหมาะสมในการนำไปพัฒนากระบวนการผลิตเส้นใยอาหาร จากหน่อไม้เศษเหลือส่วนฐานและปลายยอดในการศึกษาต่อไป
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/783
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamonlak Wicharaew.pdfKamonlak Wicharaew2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.