Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1847
Title: กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
Other Titles: Strategies of Learning Management to Develop Higher-Order on Thinking Skills of Lower Secondary School Students under the Secondary Educational Service Area
Authors: เถียรประภากุล, ปณตนนท์
Keywords: กลยุทธ์การบริหาร
ทักษะการคิดขั้นสูง
การบริหารการจัดการเรียนรู้
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
Strategies management
Learning management
Higher-order thinking skills
Secondary school students
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=976&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพบริบทการบริหารการจัดการเรียนรู้และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และเพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา วิธีการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพบริบทการบริหารการจัดการเรียนรู้ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างกลยุทธ์ และขั้นตอนที่ 3 การประเมินกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพบริบทการบริหารการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยใช้พหุกรณีศึกษาในภาพรวม พบว่า จุดแข็ง ได้แก่ การใช้หลักการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ จุดอ่อนที่พบ ได้แก่ ภาระงานของครูและจำนวนนักเรียนต่อห้องมีมาก โอกาส ได้แก่ ความเชื่อมั่นศรัทธาต่อโรงเรียนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อุปสรรคที่พบ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางด้านการศึกษาอยู่บ่อยครั้ง และปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ ทักษะด้านมโนภาพของผู้บริหารโรงเรียน รองลงมา คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน คุณลักษณะส่วนบุคคลของนักเรียนที่ส่งเสริมการคิด ความเชื่ออำนาจภายในตนของนักเรียน พื้นฐานครอบครัว สัมพันธภาพภายในครอบครัว พฤติกรรมการสอนของครูตามการรับรู้ของนักเรียน และบรรยากาศในการเรียนรู้ทางกายภาพ ตามลำดับ กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์หลัก 12 กลยุทธ์ย่อย 15 มาตรการ และ 15 ตัวชี้วัด โดยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินกลยุทธ์มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1847
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panotnon Teanprapakun.pdfPanotnon Teanprapakun,4.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.