Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1850
Title: รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา
Other Titles: The Administrative Model of the Educational Quality Assurance for Vocational Institutes
Authors: รูปดี, อุดม
Keywords: รูปแบบ
สถาบันการอาชีวศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา
Model
Assurance
Vocational education institutes
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=942&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สภาพและแนวทางการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย โครงสร้างคณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา ขอบข่ายงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา และกระบวนการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา 2) รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 โครงสร้างคณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา คณะกรรมการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา แบ่งออกเป็นคณะกรรมการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับสถาบันการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา องค์ประกอบที่ 2 ขอบข่ายงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 5 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานอำนวยการ กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา กลุ่มงานควบคุม ติดตามตรวจสอบการประกันคุณภาพการศึกษา กลุ่มงานวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลและสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษา กลุ่มงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Plan: P) ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินงาน (Do: D) ขั้นตอนที่ 3 การตรวจติดตาม (Check: C) ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงแก้ไข (Act: A) และมีการประสานงาน (Coordinate: Co) ในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างสถาบันการอาชีวศึกษากับสถานศึกษาเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จไปสู่มาตรฐาน (Standard: S) การอาชีวศึกษา 3) การประเมินรูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก และที่ประชุมกลุ่มมีฉันทามติ ให้การรับรองรูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1850
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Udom Roobdee.pdfUdom Roobdee3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.