Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1851
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจักรไชย, เชษฐา-
dc.date.accessioned2023-03-02T02:15:39Z-
dc.date.available2023-03-02T02:15:39Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=907&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1851-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธธรรมและการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ ในนวนิยายอิงพุทธศาสนาของนักเขียนสตรี โดยใช้วิธีการวิเคราะห์นวนิยายอิงพุทธศาสนาของนักเขียนสตรีที่ประพันธ์ในระหว่าง พ.ศ. 2480 ถึง พ.ศ. 2557 จำนวน 24 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประพันธ์นวนิยายส่วนใหญ่ใช้การสอดแทรกแนวคิดเรื่องพุทธธรรม เพื่อสอนให้คนเป็นคนดีด้วยพุทธธรรม 3 ระดับ คือ แนวคิดพุทธธรรมระดับพื้นฐาน (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) แนวคิดพุทธธรรมระดับกลาง (สัมปรายิกัตถะ) และแนวคิดพุทธธรรมระดับสูงสุด (ปรมัตถะ) ส่วนผลการวิเคราะห์ด้านวรรณศิลป์ในนวนิยายนั้น พบว่า แนวคิดด้านองค์ประกอบในนวนิยายนั้น พบว่า ผู้แต่งนิยมเปิดเรื่องด้วยการบรรยายฉาก เหตุการณ์ และตัวละคร พบมากที่สุด จำนวน 10 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 41.66 การสร้างความขัดแย้งในเรื่องนั้นผลการศึกษา พบว่า ผู้แต่งนิยมใช้วิธีสร้างความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของตัวละครมากที่สุด จำนวน 11 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 45.83 การลำดับเหตุการณ์ผลการศึกษา พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้การลำดับเหตุการณ์แบบปฏิทินพบมากที่สุด จำนวน 22 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 91.66 ผู้เขียนนิยมการปิดเรื่องแบบสุขนาฏกรรมมากที่สุด จำนวน 15 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 62.50 กลวิธีการสร้างสรรค์มุมมองการเล่าเรื่อง พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้กลวิธีการเล่าเรื่องแบบผู้แต่งเป็นผู้รู้แจ้งมากที่สุด จำนวน 21 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 87.5 ในการสร้างสรรค์ตัวละครทั้ง 24 เรื่อง ประกอบไปด้วยตัวละครเอก และตัวละครสนับสนุนกลวิธีการสร้างสรรค์บทสนทนา พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้บทสนทนาเพื่อบอกลักษณะและอุปนิสัยของตัวละครมากที่สุด จำนวน 12 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 50 และกลวิธีการสร้างสรรค์ฉาก พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้ฉากที่เป็นสิ่งประดิษฐ์มากที่สุด จำนวน 10 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 41.68 ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลกลวิธีการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ทางภาษา พบกลวิธีการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ 2 ลักษณะ คือ กลวิธีการสร้างสรรค์ภาษาวรรณศิลป์ระดับคำซึ่งพบใน 8 ลักษณะ คือ การหลากคำ การใช้คำเพื่อเสียงสัมผัส การใช้คำสูง การใช้คำสร้างจินตภาพ การใช้คำเลียนเสียง การใช้คำซ้ำ การซ้ำคำ และการใช้คำซ้อน ส่วนวรรณศิลป์ระดับข้อความพบใน 4 ลักษณะ คือ การใช้โวหาร การใช้ภาพพจน์ การใช้ลีลาภาษาวรรณคดี และการใช้รสวรรณคดี ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เห็นว่าการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ในนวนิยายอิงพุทธศาสนาของนักเขียนสตรี ได้นำหลักพุทธธรรมระดับพื้นฐาน หลักพุทธธรรมระดับกลาง และหลักพุทธธรรมระดับสูงสุด มาใช้สอดแทรกเพื่อให้ผู้อ่านนำมาใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้ผู้แต่งได้มีการปรับรูปแบบหรือสร้างสรรค์ลักษณะขององค์ประกอบของนวนิยายขึ้นใหม่ตามขนบของนวนิยายร่วมสมัยเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงแนวคิดทางพุทธศาสนาได้ง่ายยิ่งขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectวรรณศิลป์en_US
dc.subjectนักเขียนสตรีen_US
dc.subjectนวนิยายอิงพุทธศาสนาen_US
dc.subjectArt created languageen_US
dc.subjectFemale writeren_US
dc.subjectBuddhist novelen_US
dc.titleการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ของนักเขียนสตรีในนวนิยายอิงพุทธศาสนาen_US
dc.title.alternativeArt of Language Creation in Buddhist Novels of Female Writersen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chetta Chakrachai.pdfChetta Chakrachai4.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.