Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1861
Title: | การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 (กลุ่มย่อยที่ 6 จังหวัดพะเยา) |
Other Titles: | Academic Administration of Secondary School Administrators the Secondary Educational Service Area Office 36 (6th Group of Phayao) |
Authors: | สวยงาม, กัลยา |
Keywords: | การบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพะเยา Academic administration Academic administration of secondary school School administrators Secondary school Phayao province |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=832&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 (กลุ่มย่อยที่ 6 จังหวัดพะเยา) 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 (กลุ่มย่อยที่ 6 จังหวัดพะเยา) โดยการจำแนกตามขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 (กลุ่มย่อยที่ 6 จังหวัดพะเยา) จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถามที่เป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) และแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเอฟ (f-test) ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 (กลุ่มย่อยที่ 6 จังหวัดพะเยา) โดยภาพรวม มีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่ครอบครัวองค์กร ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวัดผลและประเมินผลและเทียบโอน ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ส่วนสภาพการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2) การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 (กลุ่มย่อยที่ 6 จังหวัดพะเยา) ที่มีโรงเรียนขนาดสถานศึกษาต่างกัน พบว่า การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งภาพรวมและรายด้าน |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1861 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kunlaya Souyngam.pdf | Kunlaya Souyngam | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.