กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1929
ชื่อเรื่อง: | การประกอบสร้างสำนวนไทยเชิงอำนาจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Power in Thai Expressions: Strategy Creation |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมาธยกุล, อริยานุวัตน์ |
คำสำคัญ: | สำนวนไทยเชิงอำนาจ การประกอบสร้าง ภาพลักษณ์เชิงซ้อน Power in Thai expression Structural components Complex figure of speech |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=902&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อวิเคราะห์ที่มาของสำนวนไทยเชิงอำนาจ การประกอบสร้างสำนวนไทยเชิงอำนาจ และภาพลักษณ์เชิงซ้อนสำนวนไทยเชิงอำนาจ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ สำนวนไทยเชิงอำนาจ จำนวน 7,936 สำนวน แล้วคัดเลือกมา จำนวน 1,326 สำนวน เพื่อใช้ศึกษาที่มาของสำนวนไทยเชิงอำนาจ และจำนวน 367 สำนวน ใช้ศึกษาการประกอบสร้างสำนวนไทยเชิงอำนาจ และภาพลักษณ์เชิงซ้อนในสำนวนไทยเชิงอำนาจ แนวคิดที่ใช้ในการศึกษา คือ แนวคิดที่มาของสำนวนไทย แนวคิดการประกอบสร้างทางความหมาย แนวคิดโครงสร้างทางภาษาระดับคำ วลี และประโยค และแนวคิดทางความหมาย ผลการวิจัยที่พบสรุปได้ว่า 1) ที่มาของสำนวนไทยเชิงอำนาจ จำแนกได้ 3 ประเภท คือ 1) สำนวนไทยเชิงอำนาจมีที่มาเกี่ยวกับความเป็นไปในสังคม เช่น หน้าที่การงาน การติดต่อสื่อสาร และการติดสินบน 2) สำนวนไทยเชิงอำนาจมีที่มาเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณี เช่น ความเชื่อทางศาสนา ไสยศาสตร์ และการแบ่งชนชั้นของคำในสังคมและ 3) สำนวนไทยเชิงอำนาจมีที่มาเกี่ยวกับอุปนิสัยและความประพฤติ เช่น อุปนิสัย และความประพฤติของคนทั่วไป 2) กลวิธีประกอบสร้างสำนวนไทยเชิงอำนาจ จำแนกได้ 2 ประเภท คือ 1) โครงสร้างของสำนวนไทยเชิงอำนาจที่มีลักษณะเป็นคำ โดยมีคำแสดงอำนาจ เช่น อย่า, จง , จงอย่า, ต้อง, ห้าม ประโยคและวลี 2) สำนวนไทยเชิงอำนาจที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม มี 2 ลักษณะ คือ สิ่งไม่มีชีวิต เช่น ภูมิศาสตร์ แร่ธาตุ สิ่งปลูกสร้าง และสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ มนุษย์ และนามธรรม เช่น เวลา ปริมาณ และระยะทาง และเหตุการณ์และความรู้สึก 3) ภาพลักษณ์เชิงซ้อนของสำนวนไทยเชิงอำนาจ จำแนกได้ 6 ด้าน คือ 1) การเมือง 2) การปกครอง 3) ความเชื่อ 4) อารมณ์ ความรู้สึก 5) จารีตประเพณี และ 6) สิ่งเหนือธรรมชาติ โดยสรุปกลวิธีประกอบสร้างสำนวนไทยเชิงอำนาจแสดงให้เห็นถึงที่มา โครงสร้างและความหมายที่เพิ่มขึ้นจากความหมายประจำสำนวนของสำนวนไทยเชิงอำนาจซึ่งสามารถจำแนกประเภทย่อยได้หลากหลาย โดยเป็นไปตามกระบวนการทางภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1929 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Ariyanuwat Smathayakul.pdf | Ariyanuwat Smathayakul | 4.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น