กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1985
ชื่อเรื่อง: | การประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Sacred Discourse Creation in the Northeastern Local Areas |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทูโคกกรวด, ชุมพร |
คำสำคัญ: | การประกอบสร้าง วจนะมงคล Discourse creation The sacred |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1742&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน จำนวน 520 บท โดยใช้แนวคิดการประกอบสร้างภาษาในระดับสัมพันธสาร และการประกอบสร้างวรรณศิลป์ ผลการวิจัยโดยสรุปมี 2 ประการ 1) การประกอบสร้างรูปแบบวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน ด้านรูปแบบคำประพันธ์ พบว่า วจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน ส่วนใหญ่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายยาว มีจำนวนบทและวรรคที่ไม่แน่นอน พบจังหวะใน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบจังหวะตายตัว และรูปแบบจังหวะไม่ตายตัว สัมผัส พบ 2 ลักษณะ คือ สัมผัสในและสัมผัสนอก สัมผัสใน พบ 2 ลักษณะ คือ สัมผัสสระ และสัมผัสพยัญชนะ สัมผัสนอก พบ 3 ลักษณะด้านโครงสร้างภาษา พบการประกอบสร้างเนื้อหา 4 ลักษณะ คือ การเริ่มต้น พบว่า มีรูปแบบที่ไม่แน่นอนตายตัว พบการใช้คำเริ่มต้น 5 ลักษณะ การลงท้าย พบ 4 ลักษณะ การแสดงหัวเรื่อง พบ 5 ลักษณะ การเปลี่ยนหัวเรื่อง พบ 4 ลักษณะ การแสดงเนื้อหาเก่า พบ 3 ลักษณะ การแสดงเนื้อหาใหม่ พบ 6 ลักษณะ การเชื่อมโยงความ พบ 4 ลักษณะ คือ การอ้างถึง การละ การใช้คำเชื่อมสัมพันธสารและการใช้คำศัพท์ การอ้างถึง พบการใช้ 4 ลักษณะ การละ พบว่า ในวจนะมงคลพื้นถิ่นอีสานมีการใช้การละ เพื่อช่วยให้เนื้อความกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ การใช้คำเชื่อมสัมพันธสาร พบ 5 ลักษณะ และการใช้คำศัพท์ พบว่า วจนะมงคลพื้นถิ่นอีสานมีการใช้คำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกันเพื่อใช้ในการเชื่อมโยงความ 2) การประกอบสร้างวรรณศิลป์ในวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน พบกลวิธีการใช้ภาษา 11 ลักษณะ คือ การใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นอีสาน, การใช้คำศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤต, การใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, การใช้คำบุรุษสรรพนาม, การใช้คำวิเศษณ์, การใช้คำซ้อน, การใช้คำซ้ำ, การซ้ำคำ, การใช้คำย่อ, การใช้คำไวพจน์, และการใช้คำศัพท์แสลง ในด้านกลวิธีการใช้เสียงสัมผัส พบว่า มีการใช้ 3 ลักษณะ คือ เสียงสัมผัสสระ เสียงสัมผัสพยัญชนะ และเสียงสัมผัสวรรณยุกต์ เสียงสัมผัสสระ พบการใช้ 2 ลักษณะ คือ เสียงสัมผัสสระระหว่างวรรค และเสียงสัมผัสสระในวรรค โดยเสียงสัมผัสสระในวรรค พบการใช้ 6 รูปแบบ เสียงสัมผัสพยัญชนะ พบการใช้ 7 รูปแบบ ส่วนเสียงสัมผัสวรรณยุกต์ พบเพียง 1 สำนวน เท่านั้น ส่วนกลวิธีการใช้โวหารภาพพจน์ พบว่า วจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานมีการใช้โวหารภาพพจน์ 8 ประเภท คือ อุปมาโวหาร อุปลักษณ์โวหาร นามนัยบุคลาธิษฐาน อธิพจน์ อุปมานิทัศน์โวหาร ลัทพจน์โวหาร และปฏิพากย์โวหาร ผลการศึกษาการประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานในครั้งนี้ จึงมิใช่เป็นเพียงผลการวิเคราะห์ภาษาและลักษณะภาษาเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดเผยอุดมการณ์ที่ฝังแฝงอยู่ในวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานด้วย |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1985 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Chuumphon Thu-Khokkruat.pdf | Chuumphon | 5.58 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น