Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2146
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการดำเนินงานวิชาการของผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพะเยา สหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
Other Titles: The Relationship between Administrative Factors and Academic Work of Directors and Teachers of The Secondary School in Phayao Province under The Secondary Education Area Office 36 Phulangka Consotium Phayao
Authors: หวานเสียง, พิษณุสรณ์
Keywords: ปัจจัยการบริหาร
การดำเนินงานวิชาการ
ผู้บริหารสถานศึกษา
ครูผู้สอน
Acadamic work
Administrative factors
School administrators
Teacher
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1039&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานวิชาการของผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการดำเนินงานวิชาการของผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน 9 โรงเรียน มีจำนวนทั้งหมด 442 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผู้วิจัยติดตามรับแบบสอบถามด้วยตนเอง ได้แบบสอบถามคืนทั้งหมด 178 ชุด โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 178 คน จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 205 คน คิดเป็นร้อยละ 86.83 ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับปัจจัยการบริหารทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับพบว่าระดับปัจจัยด้านองค์กรมีมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านบุคลากรต่ำที่สุด คือ ปัจจัยด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ 2) ระดับการดำเนินงานวิชาการของผู้บริหารและครูทั้ง 12 ด้าน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีมากที่สุด รองลงมา คือ การวัดผล ประเมินผล และงานทะเบียน เทียบโอนผลการเรียน และการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนต่ำที่สุด คือ การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ 3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการดำเนินงานวิชาการของผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ภาพรวมปัจจัยการบริหารมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานวิชาการของผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับมากที่สุด และมีความสำพันธ์กันในทางบวก ซึ่งเป็นลักษณะแบบคล้อยตามกัน
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2146
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pitsanusorn Wansieng.pdfPitsanusorn Wansieng3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.