กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2169
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างหมู่บ้านที่มีอัตราอุบัติการณ์เกิดโรคไข้เลือดออกสูงและต่ำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Affecting on Dengue Hemorrhagic Fever in Community: Case Study of Comparison between the Village with High and Low Incidence Density Rate in Pong District, Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เกนทา, อภิรุจี
คำสำคัญ: โรคไข้เลือดออก
อุบัติการณ์
หมู่บ้าน
จังหวัดพะเยา
Dengue fever
Community
Incidence density
Phayao Province
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=939&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งแบบตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน ระหว่างหมู่บ้านที่มีอัตราอุบัติการณ์เกิดโรคไข้เลือดออกสูงและต่ำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา ประเทศไทย ระหว่างเดือนสิงหาคม 2558 –มีนาคม 2559 โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง ในพื้นที่ที่มีอัตราอุบัติการณ์เกิดโรคไข้เลือดออกสูง จำนวน 202 หลังคาเรือน และอุบัติการณ์ต่ำ จำนวน 178 หลังคาเรือน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา อธิบายความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์ความถดถอยไบนารีโลจิสติค ผลการศึกษาพบว่า หมู่บ้านที่ประชาชนติดมุ้งลวดในบ้านครบทุกบาน จะมีโอกาสที่จะมีอุบัติการณ์โรคไข้เลือดออกสูงมากกว่า 13.11 เท่าของหมู่บ้านที่ไม่ติดมุ้งลวด (95% CI 4.29-40.07) หมู่บ้านที่ประชาชนไม่มีการเลี้ยงสัตว์ จะมีโอกาสที่จะมีอุบัติการณ์โรคไข้เลือดออกสูงมากกว่า 5.82 เท่าของหมู่บ้านที่มีการเลี้ยงสัตว์ (95% CI 2.60-13.04) หมู่บ้านที่ประชาชนจัดการขยะโดยการแยกไว้ขาย เผา ฝัง/กลบ จะมีโอกาสที่จะมีอุบัติการณ์โรคไข้เลือดออกสูงมากกว่า 31.85 เท่า ของหมู่บ้านที่ไม่ได้จัดการขยะ โดยการแยกไว้ขาย เผา ฝัง/กลบ (95% CI 2.51-403.58) หมู่บ้านที่ประชาชนมีระดับการปฏิบัติ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับน้อย จะมีโอกาสที่จะมีอุบัติการณ์โรคไข้เลือดออกสูงมากกว่า 18.18 เท่าของหมู่บ้านที่มีระดับการปฏิบัติในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับดี (95% CI 5.46-60.53) หมู่บ้านตรวจพบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (CI) ระดับไม่ปลอดภัย จะมีโอกาสที่จะมีอุบัติการณ์โรคไข้เลือดออกสูงมากกว่า 15.45 เท่า ของหมู่บ้านตรวจพบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (CI) ระดับปลอดภัย (95% CI 6.14-38.87) หมู่บ้านที่ประชาชนไม่เข้าร่วมมาตรการทางสังคมของชุมชน จะมีโอกาสที่จะมีอุบัติการณ์โรคไข้เลือดออกสูงมากกว่า 63.52 เท่าของหมู่บ้านที่ประชาชนเข้าร่วมมาตรการทางสังคมของชุมชน (95% CI 7.80-517.36) ผลของการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่ส่งผลต่ออัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ผลจากการศึกษาครั้งนี้ จะสามารถนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เช่น กำหนดแนวทางการดำเนินการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน การกำหนดมาตรการชุมชน เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2169
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Apirujee Kenta.pdfApirujee Kenta3.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น