Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2239
Title: สภาพการบริหารงานวิชาการกลุ่มโรงเรียนภูซาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2
Other Titles: A Study of Academic Administration of School in Pusang Group Under Phayao Primary Educational Area Office 2
Authors: สมควร, พัชรา
Keywords: การบริหารการศึกษา
โรงเรียนภูซาง
Academic administration
Pusang School
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=951&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนภูซาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ประชากรได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและข้าราชการครู กลุ่มโรงเรียนภูซาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 20 คนข้าราชการครูจำนวน 166 คนรวมทั้งสิ้น 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมการบริหารวิชาการใน 8 ด้าน คือ ด้านการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการเรียนรู้ ด้านการนิเทศในสถานศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการประกันคุณภาพการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานวิชาการกลุ่มโรงเรียนภูซาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี ด้านการบริหารจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ด้านนิเทศในสถานศึกษา ส่วนด้านที่มีสภาพการบริหารวิชาการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การวิจัยเพื่อพัฒนาด้านการศึกษ และแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการกลุ่มโรงเรียนภูซาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ด้านการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ควรจัดทำวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ด้านการบริหารจัดการเรียนรู้ครูผู้สอน ควรจัดทำหน่วยการเรียนรู้ ด้านการนิเทศในสถานศึกษา ควรมีการประเมินอย่างเป็นระบบ ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน ควรประชุมชี้แจงการประเมินให้สอดคล้องกับหลักสูตร และควรคำนึงถึงการวัดผลของความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้านสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี ควรส่งเสริมครูอบรมพัฒนาสื่อนวัตกรรม ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา ควรพัฒนาความรู้ด้านวิจัย ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ควรมอบหมายให้ครูผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ และด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ควรให้ความรู้ความเข้าใจแนวทางการประกันคุณภาพภายในแก่ครู
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2239
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patchara Somkuan.pdfPatchara Somkuan1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.