กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2266
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Approaches to the Development of Integrated Marketing Communications to Promote Cultural Tourism in Chantaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญแล, วิจิตรา
คำสำคัญ: การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
แนวทางการพัฒนา
จังหวัดจันทบุรี
Integrated marketing communication
Cultural tourism
Approaches to the development
Chanthaburi province
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1593&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อระดับความคิดเห็น เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อระดับความพึงพอใจส่วนประสมทางการตลาด 8P’s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี 3) ศึกษาศักยภาพองค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 10A’s ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี 4) ศึกษาศักยภาพองค์ประกอบของการวางแผนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ 10P’s ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี 5) ศึกษาศักยภาพการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี 6) สร้างแนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรีเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ได้แก่ ทีเทส (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA or F-test) การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ภาคชุมชนและนักวิชาการ จำนวน 20 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์และการให้ข่าว และการตลาดโดยการจัดกิจกรรมพิเศษ หรือการตลาดเชิงกิจกรรมที่แตกต่างกัน 2) นักท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความพึงพอใจอยู่ในด้านของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ต่างกัน อาชีพที่ต่างกันมีความพึงพอใจด้านราคาที่ต่างกัน และอายุที่ต่างกันมีความพึงพอใจด้านการให้บริการลูกค้าอย่างมีคุณค่าต่างกัน 3) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรีมีศักยภาพ องค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 10A’s แต่ควรพัฒนาด้าน A Attraction คือ การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 4) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรีมีศักยภาพการวางแผนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ 10P’s แต่ควรพัฒนาในด้าน P Platform ให้มีความเหมาะสม และสะดวกสบายกับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย 5) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี มีศักยภาพการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ แต่ควรพัฒนาในด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการตลาดโดยจัดกิจกรรมพิเศษหรือการตลาดเชิงกิจกรรมให้เพิ่มมากขึ้น 6) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี ในรูปแบบโมเดล DEVELOP ได้แก่ (D) Digital Marketing (E) Exchange (V) Value (L) Landscape of Media (O) Organization และ (P) Platformization เพื่อเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรีต่อไป
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2266
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Wijitra Boonlae.pdfWijitra Boonlae4.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น