กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2269
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดนครนายกให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Strategy to Develop Nakhon Nayok to Become a Destination for Sports Tourism in the Adventure Dimension
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รุ่งเรือง, พรทิพย์
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย
กลยุทธ์การพัฒนาจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย
จังหวัดนครนายก
กลยุทธ์การพัฒนา
Sports adventure tourism
Sports tourism destination development strategy
Nakhon Nayok province
Development strategy
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1688&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และอุปสรรคของการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยจังหวัดนครนายก 2) เพื่อประเมินศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย จังหวัดนครนายก 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวผจญภัยในความต้องการการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย จังหวัดนครนายก 4) เพื่อเสนอแนะกลยุทธ์เพื่อพัฒนาจังหวัดนครนายกให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และนักวิชาการจำนวนรวม 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหา และการตรวจสอบแบบสามเส้า การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามปลายเปิด เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยว หรือเข้าร่วมกิจกรรมผจญภัย จังหวัดนครนายก รวมทั้งสิ้นจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รายงานผลด้วยสถิติเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics) สถิติทดสอบ One-way ANOVA เปรียบเทียบรายคู่วิธี Scheffe นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยจังหวัดนครนายก ได้แก่ ระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึง และปัญหาการจราจร เพราะการใช้ยานพาหนะส่วนตัวมักก่อความไม่สะดวกกับนักท่องเที่ยวที่ไม่มียานพาหนะส่วนตัว อุปสรรค คือ ขาดการทำงานแบบบูรณาการขาดเป้าหมายทิศทางที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงาน 2) ศักยภาพท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย ในด้านสิ่งดึงดูดใจ คือ ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ด้านการบริหารจัดการ ในขณะที่ศักยภาพด้านที่พัก ด้านการเข้าถึง และด้านกิจกรรมควรปรับปรุง 3) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน มีความแตกต่างต่อระดับความต้องการการบริการการท่องเที่ยวผจญภัยเชิงกีฬาจังหวัดนครนายก ในด้านอายุ และระดับการศึกษา ส่วนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยที่ต่างกัน ไม่มีความแตกต่างต่อความต้องการการบริการการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดนครนายกให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย ในรูปแบบโมเดล A3 P" Paradigm ได้แก่ การเข้าถึง (Accessibility) กิจกรรม (Acivity) ความคาดหวัง (Anticipation) พัฒนาธุรกิจที่พักแรม (Place) บุคลากรด้านการบริการ (People) พัฒนาการทำงาน (Policy) พัฒนาโครงสร้างแผนงานชัดเจนเป็นระบบ (Plan) พัฒนาสื่อการประชาสัมพันธ์ (Promotion) พัฒนาการทำงานโดยให้บทบาทสำคัญกับทุกฝ่าย (Participation) ส่งเสริมให้มีสนามฝึกซ้อมกิจกรรมกีฬาเชิงผจญภัย (Practice field)
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2269
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Pornthip Rungruang.pdfPornthip Rungruang2.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น